easter dresses

อาทิตย์นี้ว่าจะไม่เขียนถึงเกมกลยุทธ
เพราะปกติจะวิเคราะห์เกม ก็ว่าจะรออาทิตย์ที่ 2 ของเกมก่อน

แต่เนื่องจากเกมนี้ยากสำหรับบางคนในการมองเกมควบคู่ไปกับความบันเทิง
และเสียงเรียกร้องขอกันมาเยอะ พร้อมคำถามว่าผมเห็นอะไรน่าสนใจบ้างในเกม

ก็เล่าแบบสั้นๆย่อๆนะครับ เพราะรายละเอียดมันเยอะเล่าสั้นๆก็จริงแต่ก็คงจะยาวทีเดียว

อันดับแรก หลายคนบอกเห็นวันแรกวิ่งไปวิ่งมากันที่สยามขายของให้ได้ยอดชนะอีกทีม
ไม่เห็นโชว์กลยุทธอะไรเลย

ข้อนี้ผมว่าที่จริงมันก็มีรายละเอียดนะ อาจจะเพราะอยากให้ลองสังเกตดู
อย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ การใช้กลยุทธ Barter
เสนอเงื่อนไขแลกเปลี่ยนแบบ win-win ได้ทั้ง 2 ฝ่ายแบบไม่ใช้เงิน
ถ้ามาแบบมือเปล่าแล้วนึกกลยุทธแบบนี้ได้ ก็ถือว่าใช้ได้

นอกจากนั้น 4Ps ก็หลุดออกมาเรื่อยๆ แต่อาจไม่สังเกตกันเพราะมันออกชุลมุน
ที่ชอบ คือ Bundling ซื้อสองชิ้นควบกันในราคาพิเศษ
รวมถึงการขยายช่องทางการขาย อย่างการใช้ Personal Selling ก็อยู่ใน Promotion

กลยุทธพวกนี้
ที่พยายามคิดกันขึ้นมาในระยะเวลาจำกัดบอกอะไรได้บ้าง

สำหรับผม
โดยข้อจำกัดหลายๆข้อ และการกำหนดเงื่อนไขให้ปฏิบัติภาคสนามกระทันหัน
ผมกลับมองในแง่มุมของการทดสอบคุณสมบัติบุคลากรครับ

​เกมในวันแรก ชวนนึกเหมือนสมัยที่ผม​ให้​โจทย์​กับ​ลูกน้อง​ใหม่ๆ ที่เข้ามาทำงานด้วย
​ซึ่ง​ที่ผมมองหลักๆ​ก็คือ​ ​ผมอยากรู้ว่า​ใน​สถานการณ์ที่​เขา​ไม่​ทันตั้งตัว
​ด้วย​โจทย์​และ​เวลาที่จำ​กัด ​เขา​จะ​ทำ​ไง​กัน​บ้าง

​แน่นอนครับ ​ผม​ไม่​ได้​ดู​เรื่องวางแผนกลยุทธอะไรหรอก
​ถ้า​จงใจตั้งโจทย์​ให้​เป็น​เคสกระทันหัน​ ​ไม่​ทันตั้งตัว
​แบบ​โจทย์นี้​เป็น​โจทย์ลวงต่างหากครับ

​ดู​เผินๆ​แล้ว​ผู้​เล่น​ต้อง​ใช้​กลยุทธเอาชนะ​กัน
​แต่ที่จริง​แล้ว​ทุกคนที่​เจอสถานการณ์​แบบนี้
​ใน​เวลาจำ​กัดที่​ไม่​ได้​ให้​ตั้งตัว
​ไม่​ได้​ให้​คิดล่วงหน้า
​ไม่​ได้​ให้​วางแผน​ไว้​ก่อน

​สิ่งที่ลูกน้อง​จะ​หลุดมา​ให้​ผมเห็น​
​คือ​ ​สัญชาติญาณการตลาด​และ​คุณสมบัติ​ส่วน​ตัวที่​เขา​สั่งสมมาต่างหาก

ถามว่าผม​จะ​ได้​อะ​ไร
​ได้​ดูคุณสมบัติของนักการตลาดของเด็ก​ใหม่​ไงครับ
​ใจสู้​ ​หัวไว​ ​กลิ้ง​ ​ลูกล่อลูกชน
​พวกนี้​เขา​ต้อง​ขับออกมาหมด
​ด้วย​โจทย์ที่บังคับ​ให้​มีชนะ​แพ้
​และ​เปรียบเทียบยอดทำ​กำ​ไรสูงสุด


ถามว่า​ใน​สถานการ์ณที่ผ่านมาของวันแรก
​ถ้า​คุณลองมองแบบผม
​คุณ​จะ​เห็นอะ​ไร​จาก​ผู้​เล่นแต่ละคน

​สำ​หรับผม
​และ​สำ​หรับ​ผู้​บริหาร​โดย​ปกติ
​เรื่องนี้จำ​เป็น​นะครับ

​ถ้า​คุณ​ไม่​รู้จักคุณสมบัติของลูกน้องคุณ
​ไม่​รู้จักนิสัย
​ไม่​รู้จักธรรมชาติของ​เขา
​คุณ​จะ​ใช้​เขา​อย่างไร
​คุณคิด​จะ​มอบโปรเจคแบบไหน​ให้​เขา​ไปทำ
​คุณ​จะ​กล้า​ให้​งบ​เขา​ไปลอง​ใช้​หรือ​เปล่า
​ใน​เมื่อมีงบประมาณขึ้นมา​ ​นั่นคือ​ความ​เสี่ยงของกำ​ไร​ ​ขาดทุน
​และ​คุณ​จะ​ให้​ใครรับผิดชอบ​ ​ก็ควร​ต้อง​เห็นงานภาคปฏิบัติ​เสียก่อน
​จริงไหมครับ

โจทย์ของวันแรกเรียบง่ายแบบนี้​แหละ​ ​คนมักมองข้าม
​แต่ผมว่านี่​แหละพื้นฐานสำ​คัญ​ใน​การอ่านคน ​อ่านลูกน้อง​ ใน​ภาคปฏิบัติ

นอกจากนั้นโจทย์กระทันหันแบบนี้
​เวลา​ให้​ทำ​เป็น​ทีม​มันสะท้อนอะ​ไร​ได้​เยอะครับ
​โดย​เฉพาะนิสัย​ใน​การประสานงาน​กัน
​มัน​จะ​สะท้อนออกมา​เลยว่า
​ใคร​เข้า​กัน​ได้​ ​เข้า​ขา​ ​และ​ไม่​เข้า​ขา

​ถามว่าพวกนี้จำ​เป็น​ที่ผม​ต้อง​รู้​ไหม
​ผมว่ามันจำ​เป็น​นะ​ถ้า​เรา​จะ​ต้อง​ใช้​คน

และสำหรับกรรมการเองก็คงได้ข้อมูลภาคสนามของแต่ละคนมากขึ้น
หลังจากที่ผ่านการคัดเลือกเข้ามาแล้ว ก็ควรมีบททดสอบกันมั่งแหละครับ
จะได้กำหนดโจทย์ต่อๆไปได้มันมือหน่อย

และถ้าไกด์แบบนี้ก็หวังว่าจะมีรายละเอียดมุมมองให้ติดตามได้สนุกขึ้น
หวังใจว่าจะดูได้สนุก และได้ประโยชน์ครับ

อันดับสองที่ผมชอบ คือตอนท้าย
อันนี้มองในแง่กลยุทธ ไม่ใช่ในสายการตลาดนะครับ
แต่จัดว่าเป็นเกมกลยุทธที่สื่อว่านอกจากการเล่นตามโจทย์แล้ว
ผู้เล่นเองก็ยังต้องคิดเผื่อเกมในแง่มุมอื่นๆด้วย

จำได้ไหมครับในตอนท้าย โจทย์กรรมการให้คือให้แต่ละคนไปคัดเลือกคนในทีมออก
แล้วปรากฏว่าทุกๆคนต่างเลือกที่จะเสนอชื่อตัวเอง

ในเชิงจิตวิทยาข้อนี้หวาดเสียวมาก เพราะต้องวัดใจผู้เล่นทุกคน
ถ้ามีใครแตกแถว วงแตกแล้ว
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น จะไม่เป็นอย่างที่เราเห็นแน่นอน (เชื่อไหมครับ)
และจิตวิทยาข้อนี้เป็นไปตามทฤษฏี Prisoner’s Dilemma ของ จอห์น แนช อย่างน่าสนใจครับ

***Prisoner’s Dilemma เป็น ตัวอย่างคลาสสิกของทฤษฎี​เกมคือ​ “ทางเลือกของนักโทษ” (Prisoner’s Dilemma) ​
ซึ่ง​เป็น​สถานการณ์ที่มีโจร​​อยู่​ 2 คนที่ทำ​ความ​ผิดร่วม​กัน​ ​เมื่อถูกจับได้ โจร​แต่ละคนมีทางเลือก​อยู่​ 2 ทาง​ ​คือ สารภาพ​ความ​ผิดตามจริง​ ​กับ​ปฏิ​เสธข้อกล่าวหา​ ​

​ซึ่ง​หากนักโทษทั้ง​สองคนปากแข็ง​ ​และ​ไม่​ทรยศต่อ​กัน​ ​ปฏิ​เสธข้อกล่าวหา​ ทั้งคู่ โจรทั้ง​สองก็​จะ​ถูกจำ​คุกเพียง​ 1 ​เดือน​ ​ใน​ฐานะผู้บุกรุก​ (D) ​
ซึ่ง​เป็น​โทษเบา​ ​และ​เป็น​แนวทางที่​เป็น​ประ​โยชน์​กับ​ทั้ง​สองมากที่สุด​ ​

อย่างไรก็ดี​ ​ต่างคนต่าง​จะ​ต้อง​ระ​แวงว่า​ ​อีกคนหนึ่ง​จะ​ยอมสารภาพ​กับ​ตำ​รวจ​และ​ทรยศ​กับ​ตน​หรือ​ไม่​ ​
เช่น​ ​กรณีที่​โจร​ ​ก​.​ยอมสารภาพ​ ​และ​โจร​ ​ข​.​ไม่​สารภาพ​ ​โจร​ ​ก​.​ก็​จะ​ติดคุกเพียง​ 2 ​ปี​ ​แต่​โจร​ ​ข​.​จะ​โดนโทษหนักคือติดคุก​ 10 ​ปี​ (B) ​
ใน​ทำ​นองเดียว​กัน​ ​หากโจร​ ​ข​.​สารภาพ​ ​แต่​โจร​ ​ก​.​ปากแข็ง​ ​​ผลก็คือ โจร​ ​ข​. ติดคุก 2 ปี แต่ โจร​ ​ก​.​ก็​จะ​ได้​รับโทษจำ​คุกถึง​ 10 ​ปี​ (C) ​
แต่ถ้าสารภาพทั้งคู่ สารภาพ​ได้​ ​ทั้งคู่ก็​จะ​ได้​รับโทษจำ​คุกไปคนละ​ 5 ​ปี​ (A)

กล่าว​โดย​สรุป​ ​คือ​ ถ้า​การสอบสวนแยก​กันโดยเด็ดขาด​ ​
มัก​จะ​ทำ​ให้​ตำ​รวจ​สามารถ​กดดัน​ให้​โจร​ทั้ง​สองคนสารภาพ​ได้​ และ​ต้อง​จำ​คุกไปคนละ​ 5 ​ปี​ (A) ​
ทั้งๆ​ ​ที่หากโจร​ทั้ง​สองยึดมั่นที่​จะ​ร่วมมือ​กัน​แล้ว​ จะไม่สามารถตั้งข้อหาได้ และโดนข้อหาเล็กน้อยไปแทน

แต่ขณะเดียวกัน ถ้าโจรทั้งสอง มีโอกาสได้ทำข้อตกลงกันก่อนการสอบสวน และเชื่อใจกัน
ก็จะสามารถเลือกไม่สารภาพทั้งคู่ได้ เพื่อนำไปสู่ประโยชน์ของผลลัพธ์สูงสุดได้ง่ายขึ้น

Game Theory คลาสสิกนี้ ชี้ให้เห็นถึงทางเลือกของผู้เล่นที่นำไปสู่จุดสมดุลในเกม ดุลภาพของแนช(Nash Equilibrium) ดุลยภาพ​ใน​ทฤษฏี​เกมของแนช​จะ​ทำ​ให้​ผู้​ร่วม​ใน​เกม​จะ​รักษาดุลยภาพของตน​ให้​สูญเสียน้อยที่สุด

ลองเปรียบเทียบกับสถานการณ์ในเกมที่เราเห็นวันแรก รู้สึกว่ามีอะไรที่ใกล้เคียงกันไหมครับ
นี่แหละครับอาหารสมองที่อยากให้สังเกตเห็น

สุดท้ายนี้ ขอให้ดูสนุกกันนะครับ
ว่างๆเข้าไปแจมกันที่บอร์ดของเกมกลยุทธแล้วกันครับ ถือโอกาสประชาสัมพันธ์แล้วกัน
เพราะเห็นหลายคนบ่นว่าเข้ายากนักกว่าจะหาเจอ
http://www.gamekonlayut.com/main.php?menu=board

ปล.2
แอบประทับใจคำพูด คุณเก๋ เมทินีครับ
“คุณคิดว่าทางเรา​จะ​ไม่​กล้าตัดสินใจเอาคุณออก​เพราะ​ว่าทุกคนโหวตตัวเองออก​ใช่​ไม๊คะ”

แล้วก็ประทับใจตอนประธานกรรมการ อ.สุมาส สรุปหักมุมตอนท้าย
เห็นประกายตาแกแว่บนึง(ไม่รู้ใครสังเกตเห็นบ้าง)แล้วบอกตัวเองในใจว่า วันถัดไปสนุกแน่ครับ