A Social Enterprise – Singha Park

social Enterprise – Singha Park คืออะไร เป็นคำถามที่ชวนทำให้เกิดความอยากรู้อยากเห็นและสนใจทำความเข้าใจไม่น้อย

Social Enterprise ในประเทศไทย

ตัวอย่างของ กิจการเพื่อสังคม ที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทย ก็คือ สิงห์ปาร์ค  ที่เริ่มต้นด้วยการทำโครงการริเริ่มทางการเกษตร ทำแปลงทดลองค้นคว้าพืชที่น่าปลูกหลาย ๆ ชนิดในไร่บุญรอดฟาร์ม เพื่อถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรในชุมชน ส่งเสริมทักษะอาชีพและความสามารถในการผลิตของเกษตรในพื้นที่ ตลอดจนการสร้างงาน สร้างอาชีพขึ้นมาจากโครงการทดลองต่าง ๆ ให้ชาวบ้านที่ว่างงาน หรืออยู่เฉย ๆ มีโอกาสทำงานหารายได้ ในพื้นที่โดยไม่ต้องเดินทางไปรับจ้างงานไกล ๆ จนในที่สุดได้กลายเป็นระบบพื้นฐานของ กิจการเพื่อสังคม ของสิงห์ปาร์คอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากปรับแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นหลากหลายรูปแบบให้เหมาะสมจนเป็นระบบที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ และเป็นการลงทุนที่มีเจตนารมย์ส่งเสริมสนับสนุนชาวบ้านในท้องถิ่น รวมถึงเกษตรกรรมในพื้นที่โดยรอบใกล้เคียงอย่างต่อเนื่องจริงจังมาเป็นระยะเวลาหลายปี

ที่จริงหากจะแปลความหมายตามตรงที่ใช้ในภาษาไทยที่ประกาศใช้โดย สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ (สกส.) – TSEO กำหนดคำแปลไว้ว่า  “A Social Enterprise Thailand” คือ กิจการเพื่อสังคม  หมายถึง คือ ธุรกิจหรือองค์กรที่ตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาสังคม/สิ่งแวดล้อม เป็นการเชื่อมโยงจุดแข็งของสองภาคส่วน คือ การจัดการที่มีประสิทธิภาพของภาคธุรกิจเอกชนมาร่วมกับการมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาของภาคสังคม เพื่อทำให้เกิดทางแก้ไขปัญหาที่มีนวัตกรรมและมีความยั่งยืน ** “กิจการเพื่อสังคมคืออะไร” – สกส.**

กิจการเพื่อสังคม

ตัวอย่างกิจการเพื่อสังคมในต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ Salvere กิจการที่เกิดขึ้นต่อยอดจากปัญหาการดูแลไม่ทั่วถึงของ Birmingham City Council หรือสภาท้องถิ่นของเบอร์มิ่งแฮม ประเทศอังกฤษ การเกิดขึ้นของกิจการนี้ช่วยตัดขั้นตอนการประเมินที่ยุ่งยากของรัฐออกไป กลายเป็นบริการออนไลน์ที่ตอบสนองอย่างตรงจุด เป็นบริการความช่วยเหลือที่เหมาะสม และให้ความมั่นใจได้ว่ามีมาตรฐาน มีการจัดการบริษัทเหมือนชุมชนคือพนักงาน ลูกค้า และผู้ช่วยจะได้ถือหุ้นส่วน 1 ปอนด์และมีสิทธิ์มีเสียงออกความเห็นในบริษัท –ที่มา สกส.***

social enterprise

อีกเคสตัวอย่างที่น่าสนใจ และมีชื่อเสียงไปทั่วโลกก็คือ คือ ธนาคารกรามีน-ธนาคารเพื่อคนยากจนแห่งบังคลาเทศ

ธนาคารกรามีน เป็นต้นแบบการให้สินเชื่อเพื่อคนมีรายได้น้อยที่ประสบความสำเร็จมาก จนทำให้ผู้ริเริ่ม “มูฮัมหมัด ยูนุส” ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพร่วมกับธนาคารกรามีนในปี 2006

ประโยคเด็ดจากธนาคารกรามีน คือ “We are the Bank, not the Charity. Charity never helps to development the country” ซึ่งแปลว่า “เรา (ธนาคารกรามีน) เป็นธนาคาร ไม่ใช่องค์กรการกุศล การกุศลไม่เคยช่วยให้ประเทศชาติพัฒนาได้”    ที่มา ศาสตราจารย์ ดร.พิริยะ ผลพิรุฬห์ ***

นั่นหมายถึงว่า Social enterprise หรือ กิจการเพื่อสังคม มีความหมายมากกว่า มีความหมายกว้างกว่ามูลนิธิ หรือธุรกิจเพื่อสังคม SocialBusiness และแตกต่างจาก CSR อย่างชัดเจน

ธุรกิจเพื่อสังคม มิได้ปฏิเสธการแสวงหากำไร ขณะเดียวกันก็ต้องไม่ทำให้ขาดทุน และเลี้ยงตัวเองได้ สิ่งที่สำคัญก็คือ กำไรที่ได้จากการทำธุรกิจนั้นจะถูกนำกลับมาทำประโยชน์เพื่อสังคมส่วนรวม ไม่สามารถนำกลับไปปันผลเป็นการส่วนตัวได้ (สำหรับผู้ถือหุ้นที่ร่วมลงทุนก็จะรู้ตั้งแรกอยู่แล้วว่าการลงเงินนี้ก็เพื่อสังคม จึงไม่เอาผลกำไรจากการลงเงิน ส่วนเงินลงทุนที่ลงหุ้นไปนั้นผู้ถือหุ้นยังมีสิทธิ์ได้รับกลับคืน) หรือจะเรียกว่าการแสวงหากำไรไม่ได้มุ่งเน้นที่ตัวเงิน แต่เป็นกำไรที่ได้จัดการปัญหาบางอย่างของสังคม และสร้างสังคมให้มีความสุข

วิสาหกิจเพื่อสังคม และธุรกิจเพื่อสังคม

–  Social Enterprise vs. Social Business – ที่มา **สถาบันไทยพัฒน์**

“คำว่า ‘วิสาหกิจ’ (enterprise) ตามพจนานุกรม หมายถึง การประกอบการที่ยากสลับซับซ้อนหรือเสี่ยงต่อการขาดทุนล้มละลาย ส่วนคำว่า ‘ธุรกิจ’ (business) หมายถึง การประกอบกิจการในทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรม หัตถกรรม พาณิชยกรรม การบริการ หรือกิจการอย่างอื่นเป็นการค้า หรือหมายถึง การงานประจำเกี่ยวกับอาชีพค้าขาย หรือกิจการอย่างอื่นที่สำคัญและที่ไม่ใช่ราชการ ”

มูฮัมหมัด ยูนูส ผู้บุกเบิกธุรกิจเพื่อสังคมในบังกลาเทศ ได้ขยายความ เกี่ยวกับ ธุรกิจเพื่อสังคม ตามนิยามของเขา ว่ามี 2 ประเภท

  1. ประเภทแรก ยูนูสเรียกว่า Type I social business คือ non-loss, non-dividend company ที่ทำงานอุทิศให้กับการแก้ไขปัญหาทางสังคมและถือหุ้น โดยนักลงทุนที่/พร้อมจัดสรรกำไรจากการดำเนินงานทั้งหมดในการขยายและปรับปรุงธุรกิจเพื่อสังคมของตนให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น
  2. ประเภทที่สองเรียกว่า Type II social business คือ profit-making company ที่มิได้ถือหุ้นโดยนักลงทุนหรือบุคคลทั่วไป แต่เป็นคนยากจนหรือผู้ด้อยโอกาสที่เข้าเป็นเจ้าของ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม และได้รับโอกาสให้นำกำไรที่ได้จากการดำเนินงาน ไปบรรเทาปัญหาความยากจนนั้น ได้ตามวัตถุประสงค์ของธุรกิจเพื่อสังคมนั้น ๆ

Social enterprises Thailand

ตัวอย่างของ กิจการเพื่อสังคม ที่ประสบความสำเร็จในบ้านเราก็คือ สิงห์ปาร์ค Singha Park  ที่เริ่มต้นด้วยการทำโครงการริเริ่มทางการเกษตร ทำแปลงทดลองค้นคว้าพืชที่น่าปลูกหลาย ๆ ชนิดในไร่บุญรอดฟาร์ม เพื่อถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรในชุมชน ส่งเสริมทักษะอาชีพและความสามารถในการผลิตของเกษตรในพื้นที่ ตลอดจนการสร้างงาน สร้างอาชีพขึ้นมาจากโครงการทดลองต่าง ๆ ให้ชาวบ้านที่ว่างงาน หรืออยู่เฉย ๆ มีโอกาสทำงานหารายได้ ในพื้นที่โดยไม่ต้องเดินทางไปรับจ้างงานไกล ๆ จนในที่สุดได้กลายเป็นระบบพื้นฐานของ กิจการเพื่อสังคม ของสิงห์ปาร์คอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากปรับแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นหลากหลายรูปแบบให้เหมาะสมจนเป็นระบบที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ และเป็นการลงทุนที่มีเจตนารมย์ส่งเสริมสนับสนุนชาวบ้านในท้องถิ่น รวมถึงเกษตรกรรมในพื้นที่โดยรอบใกล้เคียงอย่างต่อเนื่องจริงจังมาเป็นระยะเวลาหลายปี

Social Enterprise Singha Social Enterprise

 Singha Park

นอกจากการทำแปลงทดลอง สร้างงาน สร้างอาชีพ ไปพร้อม ๆ กับการทำแปลงทดลองพืชผักผลไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น แปลงเพาะเห็ด ไร่เสาวรส ไร่พุทราไร่กระเจี๊ยบ ไร่ชาอู่หลง ที่สามารถนำมาส่งเสริมอาชีพ ถ่ายทอดทักษะการผลิต ให้คำแนะนำในการปลูกอย่างจริงจังในแง่การผลิตเชิงเกษตรแล้ว ก็ยังเป็นผู้รับซื้อสินค้าเหล่านี้เพื่อเป็นช่องทางการหมุนเวียนสินค้าเกษตรให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวในจังหวัดเชียงราย โดยการดูแลการจัดการจัดจำหน่าย สิงห์เป็นผู้รับดูต่อ ทั้งการคิดสร้างสรรค์ปรับแพคเกจกิ้งให้น่าซื้อ และปรับปรุงพื้นที่ในสิงห์ปาร์คเพื่อให้ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเชียงรายได้แวะมาเที่ยว ได้นำเสนอสินค้าผลิตภัณฑ์ของ Singha Park  สู่นักท่องเที่ยว

Social Enterprise Social Enterprise

ในเวลาต่อมา Singha Park  เองก็กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนึงในจังหวัดเชียงราย เป็นการเติบโตของ กิจการเพื่อสังคม ที่นอกเหนือจากจะสร้างคน สร้างงาน สร้างอาชีพและสร้างรายได้ ก็พัฒนาไปสู่ระบบครบวงจร ที่รองรับนักท่องเที่ยว ที่จะมาเป็นผู้ซื้อ กลายเป็นระบบจัดจำหน่ายและระบายสินค้าของ กิจการเพื่อสังคม ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบการขายผลิตภัณฑ์การเกษตรของ Singha Park  A Social enterprises กิจการเพื่อสังคม และเป็นวัตถุดิบในร้านอาหาร ซึ่งเท่ากับกลายเป็นระบบที่ครบวงจรตั้งแต่การผลิต การค้นคว้าและการทำแปลงทดลอง การนำความรู้ที่ได้มาส่งเสริมความรู้เกษตรกร พร้อมการรับซื้อ การรองรับตลาดรวม การเป็นช่องทางการจัดจำหน่าย และการเป็นสถานที่ดึงดูดนักเที่ยว ตอบสนองลูกค้าที่ต้องการผลิตภัณฑ์การเกษตรที่มีคุณภาพ

Social Enterprise
Singha Social Enterprise

 

Singha Social Enterprise

Social EnterpriseSocial EnterpriseSingha Social EnterpriseSingha Social Enterprise
การเป็นกิจการเพื่อสังคมที่มีระบบครบวงจร เทำให้ สิงห์ปาร์ค Singha Park  ในปัจจุบันกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีผลิตภัณฑ์การเกษตรไว้ตอบสนองและเปิดช่องทางจากโครงการเพื่อพัฒนาการเกษตรไปสู่สถานที่ท่องเที่ยวที่รองรับนักท่องเที่ยวได้อีกทางนึง ปัจจุบันแปลงทดลองได้พัฒนาไปเป็นสถานที่ท่องเที่ยวไปด้วยพร้อม ๆ กัน ซี่งผู้บริโภคก็ได้รับความรู้และความมั่นใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์การเกษตรของสิงห์ปาร์ค ในขณะที่มาท่องเที่ยวเยี่ยมชมไร่บุญรอด และพื้นที่ต่าง ๆ ของสิงห์ปาร์คที่พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อน และถ่ายรูปสวยๆ ของครอบครัว เป็นสถานที่ออกกำลังกาย เป็นสถานที่ปั่นจักรยาน และทำกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนรองรับอีเวนท์ กิจกรรมมากมายหมุนเวียนไปตลอดปี เป็นการหมุนเวียนของระบบ ปัจจุบันสิงห์ปาร์คที่มีคนเชคอินออนไลน์มากที่สุดแห่งนึงในเชียงรายอีกด้วย หรือพูดได้ว่าเป็น ตัวอย่าง Social enterprise Thailand กิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย ตัวอย่างหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง

วิสาหกิจเพื่อสังคมปัจจุบันเรากำลังมีร่าง พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหิกิจเพื่อสังคม มารองรับ กิจการเพื่อสังคมอย่างเป็นทางการ เและเชื่อว่าในบ้านเราน่าจะมี กิจการเพื่อสังคม เกิดขึ้นอีกจำนวนมาก ด้วยความมุ่งหมายที่มากกว่ากำไร แต่เป็นการแก้ปัญหาให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี มีงาน มีรายได้ มีความสุขแก่สังคม

เอกลักษณ์ที่ชัดเจนของ Social enterprise Thailand กิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย ก็คือจิตสำนึก ความต้องการให้สังคมดี ประชาชนในสังคมได้รับประโยชน์จากกิจการ  สิ่งเหล่านี้จะสร้างความสุขระยะยาว ให้กับสังคมที่เราอยู่ อย่างยืนยาวและยั่งยืนครับ

กิจการสังคมที่ใช้กำไรในการทำให้เกิด รอยยิ้ม และความสุขของสังคม ได้ ช่างเป็นกำไรที่ยิ่งใหญ่จริง ๆ ครับ  – จีระนันท์ จิระบุญยานนท์