Hachiko ฮาจิโกะ ハチ公 ยอดสุนัขผู้ซื่อสัตย์ แห่งชิบุย่า 10 คำถาม คำตอบ
ใครดูหนังฮาจิโกะมา ไป เที่ยวญี่ปุ่น แล้วเจอ อยากรู้ประวัติ Hachiko แบบละเอียด มักจะมีคำถามเกี่ยวกับสุนัขผู้ซื่อสัตย์ตัวนี้มากมาย ผมเลยสรุปเป็น เอา 10 คำถามยอดฮิต สรุปเป็น 10 คำตอบแก้ข้อสงสัยคาใจเกี่ยวกับ Hachiko รวบรวมมาตอบทีเดียวให้กระจ่าง อ่านทีเดียวรู้เรื่องคร่าวๆ หายสงสัยกันไปเลย
1. ประวัติ ฮาจิโกะ เป็นสุนัขพันธ์อะไร
ตอบ ฮาจิโกะ เป็นสุนัขพันธ์อากิตะพันธ์แท้ที่หายากมาก เกิดวันที่ 10 พย. 1923 ในเมืองโอดาเตะ จังหวัดอากิตะ
2. ใครเป็นเจ้าของเจ้าฮาจิโกะ
ตอบ เจ้าของ ฮาจิโกะ คือ ศจ.ดร.เอชะบุโระ อุเอะโนะ (Hidesamuroh Ueno) ศาสตราจารย์ประจำคณะเกษตรศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยอิมพีเรียล (มหาวิทยาลัยโตเกียวในปัจจุบัน)
3. ตำนานของ ฮาจิโกะ ハチ公 Hachikō เริ่มขึ้นเมื่อไหร่
ตอบ วันที่ 21 พค. 1925 ศาสตราจารย์อุเอะโนะ เกิดอาการเส้นโลหิตในสมองแตก และเสียชีวิตกระทันหัน ในขณะอยู่ที่มหาวิทยาลัย ซึ่งในวันนั้น ฮาจิโกะยังคงไปรอเจ้านายของมันที่สถานีรถไฟ โดยไม่มีทางรู้ได้เลยว่า มันจะไม่ได้พบกับเจ้านายของมันอีกแล้ว เนื่องจากเขาได้จากไปอย่างไม่มีวันกลับ หลังจากนั้นภรรยา ศจ.ดร.อุเอโนะ พาเจ้าฮาจิโกะไปให้กับญาติของศาสตราจารย์ แต่มันหนีออกมา และไปนั่งรอเจ้านายของมันที่เดิมที่สถานีรถไฟ หลังจากนั้น คุณ คิคุซะบุโระ โคบายาชิ อดีตคนสวนของศาสตราจารย์ ซึ่งอาศัยอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟก็เลยรับเป็นคนดูแลเจ้าฮาจิโกะแทน และทุก 15.00 น. เจ้าฮาจิโกะก็ไปรอเจ้านายที่เดิมทุกวันจนตราบถึงวันที่มันสิ้นชีวิต เรื่องราวของฮาจิโกะถูกตีพิมพ์ใน นสพ.ในปี 1932 จนเป็นที่รู้จัก เป็นเป็นตำนานมีชีวิตที่คนญี่ปุ่นยกย่อง
4. รูปปั้นฮาจิโกะ 忠犬 Hachiko ที่ชิบูย่า สร้างขึ้นเมื่อไหร่
ตอบ ตามประวัติ รูปปั้นฮาจิโกะเป็นรูปปั้นทองแดง สร้างขึ้นในเดือนเมษายน ปี 1934 ขณะที่ ฮาจิโกะยังมีชีวิตอยู่ช่วงปีสุดท้ายของชีวิต โดยผู้ให้สร้างคือ สมเด็จพระราชินีญี่ปุ่น ให้ ศิลปินชื่อดัง อันโดะ เทะรุ เป็นผู้สร้าง และนำไปตั้งไว้ที่สถานีรถไฟ
5. ฮาจิโกะ ตายเมื่อไหร่
ตอบ ข้อมูลบันทึกว่า ฮาจิโกะ ตายในวันที่ 8 มีนาคม 1935 โดยมีคนพบร่างของ Hachiko นอนฟุบอยู่ที่ๆ มันคอยเจ้านายมาเกือบสิบปี ในที่สุดฮาจิโกะได้กลับไปหาเจ้านายของมันอีกครั้ง
6. รูปหล่อของฮาจิโกะปัจจุบันที่ชิบุย่าเป็นของเดิมหรือไม่
ตอบ รูปหล่อของฮาจิโกะ ในปัจจุบันที่จริงแล้ว ไม่ใช่อันที่สมเด็จพระราชินีให้สร้างไว้ครั้งแรก ของเดิมถูกทำลายไปแล้ว เนื่องจากยุคสงครามรูปหล่อเดิมถูกนำไปหลอมไปใช้ในสงคราม รูปหล่อปัจจุบันถูกสร้างในสมัยหลังสงคราม ในปี 1947 ที่น่าสนใจคือ ผู้ที่ทำหน้าที่สร้างรูปหล่อฮาจิโกะ คือ ศิลปินผู้รับหน้าที่นี้ก็คือ อันโดะ ทะเคะชิ ลูกชายของ อันโ ดะ เทะรุ ศิลปินที่ทำหน้าที่สร้างรูปหล่อฮาจิโกะครั้งแรก นั่นเอง
7. รูปปั้นใหม่ ฮาจิโกะพบศาสตราจารย์อุเอโน่ เกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอบ รูปปั้นนี้เกิดขึ้นเมื่อตอนต้นปี 2014 คนที่รักและปรารถนาให้ฮาจิโกะได้พบกับเจ้านาย ได้สละทรัพย์ส่วนตัวรวบรวมกันให้ช่างปั้น รูปเจ้าฮาจิโกะได้พบกับเจ้านาย ในโอกาสที่จะครบรอบ 90 ปีแห่งการรอคอย (1925-2015) และฮาจิโกะก็ได้พบกับศาสตราจารย์อีกครั้ง
8. รูปปั้นใหม่ ฮาจิโกะพบศาสตราจารย์อุเอโน่ จะถูกตั้งไว้ที่ไหน
ตอบ รูปปั้นนี้จะตั้งไว้ที่ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยโตเกียวในปัจจุบัน ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2015 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 80 ปี นับจากวันที่ที่ฮาจิโกะลาจากโลกนี้กลับไปพบเจ้านายอีกครั้ง (หรือ 90 ปี นับตั้งแต่ปีที่เจ้านายฮาจิโกะจากไป)
9. ฮาจิโกะตัวจริงยังมีอยู่ไหม
ตอบ ฮาจิโกะตัวจริง ถูกสตาฟเก็บไว้ และยังคงเก็บรักษาไว้จนถึงปัจจุบัน
10. ฮาจิโกะ ตัวจริง ยังมีอยู่ไหม และอยู่ที่ไหน
ตอบ ฮาจิโกะ Hachiko ตัวจริงถูกสตาฟไว้ และถูกเก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อุเอโน่
ปล.ข้อมูลเหล่านี้สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ต่อครับ
The story is likely familiar to many. Hachiko greeted his owner, Hidesaburo Ueno, at the train station every evening so that the two could walk home together. One day, Ueno collapsed during a lecture and never returned home. It’s said that for the next nine years, Hachiko returned to thetrain station every evening to wait for his owner, not knowing he would never return. The touching story was even adapted into two films: Seijirō Kōyama’s 1987 Hachikō Monogatari, and a 2009 Hollywood film, Hachi: A Dog’s Tale, starring Richard Gere as the dog’s owner.
Now Hachiko has a new statue, proudly displayed at the University of Tokyo. It shows Hachiko and Ueno joyously reuniting 80 years later—and 90 years after Ueno’s passing. The statue was commissioned by the university’s Department of Agriculture, where Ueno was a noted scholar in agricultural engineering.