คุณต๊อด ปิติ ภิรมย์ภักดี นักสะสม G-Shock เปิดใจครั้งแรกในฐานะ Thai G Shock Collectors
วันนี้ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ นักสะสม G-Shock รุ่นใหญ่ คนนึงของเมืองไทย คือ คุณต๊อด ปิติ ภิรมย์ภักดี Thai G Shock Collector คนนึงที่หลายคนคง หายากที่จะมีโอกาสได้เห็นและสัมผัส ว่า คุณต๊อด ปิติ มีงานอดิเรกส่วนตัวเกี่ยวกับการสะสมนาฬิกา Casio จีช๊อค รอยยิ้มขณะเล่าเรื่องราวของนาฬิกา G-Shock Limited Edition บางเรือนที่ได้มาจากน้ำใจของเพื่อนในวงการสะสมด้วยกัน และความทรงจำที่มีต่อการสะสมตั้งแต่เรือนแรกในขณะเล่า ดูมีความสุขมากมาย ในฐานะผมที่เป็นแฟนพันธุ์แท้การ์ตูนญี่ปุ่นที่หลงใหลในการสะสมคนนึง ผมสัมผัสและรู้สึกได้ว่าคนที่พูดอยู่ตรงหน้าผมคนนี้ สุขใจที่ได้เล่ามุมมองส่วนตัว เรื่องราวของการสะสมของตัวเองที่เป็นความสุขในการสะสมลึกลงลงไปถึงในหัวใจ ถึงความทรงจำวัยเด็ก ตั้งแต่วัยเด็กที่ “อยากได้ แต่ไม่ได้” เรื่องราวส่วนตัวที่ไม่จำเป็นต้องเปิดเผยเล่าให้คนนอกฟัง ได้สัมผัสพูดคุยในสิ่งที่ตัวเองรักจริงๆ และได้แสดงถึงความรักและหลงใหลในระดับแฟนพันธุ์แท้ G-Shock ที่น่าติดตามอ่านมากในบทสัมภาษณ์ด้านล่าง
สิ่งที่ประทับใจมากสำหรับผมในระหว่างการสัมภาษณ์ Thai G-Shock Collector Interview มีนาฬิกา 4 เรือน จากที่นำมาให้ชม 50 เรือน เรือนแรก คือ G-Shock สายเหล็กเรือนแรก ที่ คุณต๊อด ปิติ ซื้อด้วยตัวเองในสมัยเด็ก นาฬิการุ่นนี้ราคาในท้องตลาดปัจจุบันไม่กี่พัน แต่รู้สึกได้ว่านี่เป็นนาฬิกาในความทรงจำจริงๆ สำหรับคนทั่วไปและนักสะสมคนอื่นอาจไม่รู้สึกว่ามีค่าอะไร แต่ของชิ้นแรกที่เราเลือกและกลายเป็นจุดเริ่มต้นในการสะสมนั้น มีค่ามากมายจริงๆ ครับ ใครที่เป็นนักสะสมคงจำความรู้สึกนี้ได้ แค่แตะชิ้นแรกที่เราเริ่มสะสม ความทรงจำมันก็พรั่งพรูออกมา
เรือนที่สองเป็น รุ่น Doraemon G-Shock Limited Edition รุ่นสะสมหายากรุ่นนึงในปัจจุบัน แต่ความหมายมันไม่ได้อยู่ตรงนั้นที่มาอวดใคร แต่เพราะ คุณต๊อด ปิติ เล่าว่าว่า เพราะวันเกิดของ คุณต๊อด ปิติ ตรงกับ โดราเอมอน คือ 3 กย. ซึ่งเป็นเรื่องของความผูกพันต่อของสะสมที่เป็นเรื่องราวเฉพาะตัว และเรือนนี้เองที่ทำให้ผมรู้สึกถึงจุดเชื่อมโยงของความรักในของสะสม ระหว่างการ์ตูนที่ผมรัก กับ นาฬิกาคุณต๊อด ปิติ รัก จนรู้สึกชอบนาฬิกาจีชอคตามไปด้วย เป็นประเภทที่ไม่ได้สะสมไว้โชว์เฉยๆ แต่ต้องใช้ ต้องจับ ต้องสัมผัส ลงลึกไปถึงเรื่องของความสุขส่วนตัวในชีวิตจริงๆ เป็นความหลงใหลในระดับได้แตะได้ใช้แล้วรู้สึกถึงความสุขจริงๆ
เรือนที่สาม ดูเฉพาะตัวมากๆ คือ TP 12 ซึ่งเป็นโลโก้รถแข่งส่วนตัว เพราะเรือนนี้เป็นนาฬิการุ่นที่คุณปิติใช้ใส่แข่งรถและเป็น custom made สั่งทำเอง คือ ซื้อนาฬิกาคาสิโอ จีช๊อค แบบที่ชอบมาแต่งให้กลายเป็น Collection ส่วนตัว ซึ่งคุณต๊อด ปิติก็บอกตรงๆเลยว่า นาฬิกาที่ทำต้นทุนอยู่ราวแค่หมื่นกว่าบาท ราคาไม่ได้แพงอะไร แต่ถ้าเปรียบเทียบเงิน 1 หมื่นบาทกับนาฬิกาเรือนนี้ บอกได้เลยว่าความรู้สึกและความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวตน ทำให้มีมูลค่าทางความรู้สึกในการสะสมและใช้งานสูงกว่ารุ่นหายากที่หาสะสมกันในท้องตลาดเสียอีก พูดตามตรงแล้วสำหรับนักสะสม มูลค่าทางเงินหรือจะสำคัญกว่าของที่มีมูลค่าทางจิตใจ ความสำคัญของการสะสมมันอยู่ที่ความรู้สึกนี่แหละครับ ความสุขใจทุกครั้งที่จับ มันหาซื้อจากไหนไม่ได้จริงๆ ทรัพย์สินทางใจนี่ประมาณค่าไม่ได้เลย
เรือนที่สี่ เป็นเรือนที่เก่ามากๆ และอาจจะเรียกว่าเก่าที่สุด เพราะเรือนนี้ DW 5000c เป็นนาฬิกา G-shock รุ่นแรก หรือ เรือนแรกของ G-Shock บนโลกใบนี้ที่ผลิตมาตั้งแต่ปี 1983 โดย “มร.คิคุโอะ อิเบะ” วิศวกรชื่อดังชาวญี่ปุ่น ผู้ที่คิดค้นนาฬิกา G SHOCK ของ คาสิโอ จัดได้ว่าเป็นความเป็นมาและนวัตกรรมชิ้นเอกของวงการนาฬิกาโลกเลยทีเดียว (นาฬิกา G-Shock ต่อยอดจากปี 1981 เมื่อคาสิโอประสบความสำเร็จในการพัฒนานาฬิกาคอนเซปต์ Triple 10 ที่ปรับตัวเครื่องด้านในให้ลอยไม่ยึดติดกับตัวเรือน ทำให้มีคุณสมบัติกระจายแรงกระแทกและทนจากการตกจากที่สูงได้ถึง 10 เมตร กันน้ำได้ระดับ 10 บาร์ และมีอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ถึง 10 ปี สายยางที่นำมาใช้ คือ ยูรีเทน พลาสติกยุคใหม่ในสมัยนั้น ที่มีความยืดหยุ่นสูงและทนแรงกระแทกได้ดี รุ่นนี้สายสะสมเรียกกันว่า Original วางขายครั้งแรกใน เดือน 4 ปี 1983 ในราคา 14,000 เยน) ในฐานะของนักสะสม ผมว่าเรือนนี้เป็นเรือนที่ขาดไม่ได้ มากกว่าเรือน Limited Edition รุ่นแพงๆ ที่เขาหามาอวดกันเสียอีก และก็รู้สึกว่าใช่เลย ทันทีที่คุณต๊อด ปิติ เลือกหยิบเรือน DW 5000c นี้ออกมาเป็น 1 ใน เรือนโชว์ตอนช่วงท้าย
มาติดตามบทสัมภาษณ์ช่วงของการเริ่มต้นสะสมนาฬิกา G-shock ของคุณต๊อด ปิติ กันครับ
ครั้งแรกกับการเปิดใจในฐานะนักสะสม G-Shock
เป็นมุมมองที่น่าสนใจ หลายคนคนคิดว่าผมจะต้องใส่นาฬิกาปาเต๊ะ หรือโรเลกซ์อะไรประเภทนี้ แต่ผมเป็นแฟนพันธุ์แท้ของ G shock ซึ่งเป็นอีกมุมมองนึงที่หลายคนอาจะจะไม่ได้สัมผัส หรือทำความคุ้นเคยกับผมนะครับ
เริ่มต้นสะสมและใส่ G shock ครั้งแรกตั้งแต่เมื่อไหร่
คือจริงๆ ต้องบอกว่าหลายคนอาจจะทยอย แต่ของผมเนี่ย เริ่มต้นตั้งแต่วันแรกที่มีนาฬิกา คือตอนนั้นไม่เชิงคำว่าสะสม แต่เด็กทุกคนสมัยอายุรุ่นราวคราวเดียวกับผม ประมาณ 35-36 เนี่ย ณ ตอนสักประมาณ ม.1 ม.2 ที่เริ่มใส่นาฬิกาได้ ผมว่าเด็กทุกคนตนนั้นอยากมี G shock หมด จะเป็น baby G จะเป็น G-shock รุ่นไหนก็สุดแล้วแต่ พอพูดถึงเรื่องนี้แล้ว สิ่งที่น่าสนใจคือ มันเป็นความใฝ่ฝันของเด็กวัยรุ่นทุกคนที่อยากจะใส่ G shock ไปโรงเรียน เพราะว่าถ้าอยู่ในกรุงเทพ ม.1 นี่เป็นครั้งแรก เป็นเวลาที่จะใส่นาฬิกาไปโรงเรียนได้อย่างถูกกฏระเบียบ เพราะถ้าเป็นประถมมันผิดหมด ห้ามใส่ทุกอย่างอยู่แล้วเพราะฉะนั้นตอนเด็กๆ ผมก็ไม่ได้สนใจเรื่องนาฬิกาแต่พอโตขึ้นมาเนี่มันมีกระแสที่จะใส่ TAG Hauer ผมก็มี มีตอน ม.2 แต่ ม.1 นี่เป็น G shock ซึ่งถ้าถามถึง G-shock เรือนแรกก็ต้องบอกว่าเป็นสายผ้า เป็น Baby G สายผ้า เรือนที่สองสีเหลือง ตอนนั้นพี่ชายผมได้สีฟ้าเป็นของขวัญวันเกิด แล้วเขาก็ซื้อให้ผมเป็นของขวัญวันเกิด เรือนที่สามคือที่เอามาโชว์วันนี้ คือเรือนมุมบนซ้ายสุด ถ้าให้คนรุ่นราวคราวเดียวกับผมหาเลยก็จะรู้เลย มันจะมีอยู่ประมาณ 3-4 สีนะรุ่นนี้ ก็เป็นเรือนเหล็กที่ผมเก็บตังค์ซื้อเองซึ่งสมัยนั้น ราคาหลักพันปลายๆ ก็ไม่ใช่ถูกๆ หลังจากนั้นก็มีความชื่นชอบ G shock มาโดยตลอด
ยุคของการสะสม G shock ที่กลับมาบูม
จริงๆ G shock ในเมืองไทยเพิ่งเริ่มดังมาสัก 2-3 ปีได้มั้ง จริงๆเค้ามักจะบอกว่ามันเป็นขาขึ้นขาลง แต่คนที่อยู่ในวงการ G shock มันไม่มีขาขึ้นขาลงหรอก เพราะคนที่สะสมก็สะสมมาตลอดอยู่แล้ว นักสะสมมันไม่มีหาย ที่บอกว่าขาขึ้นขาลง พวกนั้นเป็นนักปั่น 2-3 ปีนี้จะมีกลุ่มคนที่แลกเปลี่ยนข้อมูลพวก Thai G shock Colletor ด้วยกัน เราอย่าไปมองเรื่องซื้อขาย ผมว่าถ้าซื้อขายมันมาแล้วก็ไป มันไปแล้วก็มา คือผมบอกได้เลยว่าถ้านักสะสมจริง เค้าไม่ได้ตามกระแส มันเป็นเรื่องของความรักความชอบ เสน่ห์ของมันอยู่ ดีไซน์ตามฟังก์ชั่นการใช้งานและที่สายยาง 10 ปีแรกของ G-Shock จะมีแต่สีดำ ซะส่วนใหญ่ ต่อมาก็จะมีหลากสีขึ้น มีหลายทรง หลายสี หลายแบบ แต่ที่ไม่เปลี่ยนเลย คือเสน่ห์ของนาฬิกา มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เฉพาะรุ่นเสมอ
แรงบันดาลใจส่วนตัวเลยที่สะสม G shock
เป็นความยาก อยากได้ตอนเด็กแล้วไม่ได้ มันเป็นความรู้สึกแบบนี้ในชีวิตผมแบบนี้เลยนะ 2 รอบ รอบแรก คือ รถบังคับ หลายๆ คนคงบอก เออมาพูดให้ดูหล่อเลย พ่อแม่มีตังค์ทำไมไม่ซื้อให้ ไม่เคยได้ของเล่นนะผมน่ะ รถบังคับที่เด็กๆ เขาได้กันเนี่ย ผมไม่ได้นะ พ่อแม่ที่เลี้ยงผมมาเนี่ยค่อนข้างจะหัวโบราณพอสมควรนะครับ ส่วนใหญ่ก็ให้พี่น้องเล่นกัน ไม่ให้ต่างคนต่างเล่น เพราะการที่จะให้เล่นรถบังคับเล่นเกมเนี่ยสังเกตเด็กสมัยนี้จะ isolate ตัวเอง (แยกตัวเองออกมาโดดเดี่ยว) เวลาเจอคนเยอะๆ ไม่เอากลับบ้านๆ ผมเล่นกับพี่ชายน้องสาวก็คือ เตะบอล บอลลุงสีวิ่งเปรี้ยวกัน กีฬาที่เราเล่นร่วมกัน ซึ่งสมัยนี้ เด็กๆสมัยนี้ โดยเฉพาะเด็กอินเตอร์นี่เห็นการละเล่นกันแล้วตื่นเต้น ตื่นเต้นทำไมวะ เพราะชีวิตเค้าไม่เคยมี กลับมาก็คือว่าตัวผมเองเล่นเป็นหมอพยาบาลกับน้องสาวนะครับ ในขณะเดียวกันใส่นวมต่อยมวยกับพี่ชาย พ่อแม่สอนแบบนี้ว่าเราเป็นลูกคนกลาง ก็ต้องเล่น ต้องอยู่กับทุกคนให้ได้ ไม่ได้ถูกเลี้ยงมาตามใจแบบที่หลายๆ คนคิด
ความรู้สึกครั้งแรกที่ผมหาตังค์ครั้งแรกได้โดยการที่ไปแข่งรถ พอได้ตังค์มาผมก็เอาเงินไปซื้รถบังคับหมดทุกบาททุกสตางค์ วันนั้นก็รู้สึกดีใจว่าผมไม่เคยได้ กว่าจะได้รถบังคับมาแต่ละคัน ต้องเซ็นสัญญากับพ่อ 10 ข้อ ต้องทำให้ได้ภายใน 3 เดือน ก็เป็นกฏทั่วไป ต้องเชื่อฟังพ่อแม่ ห้ามทะเลาะอะไรแบบนี้ เขียนไว้เลย มีการเซ็นสงญงสัญญาชัดเจนว่าจะทำตามสัญญาแบบนี้ 10 ข้อ ว่าจะทำให้ได้แบบนี้ 3 เดือน ถึงจะได้รถบังคับ 1 คัน ซึ่งตอนนั้นคันนึงก็แปดเก้าพัน ซึ่งตอนนั้นผมบอกเลยว่าเด็กสิบขวบตอนนั้นก็ไม่มีทางที่ผมจะหาได้ พอผมได้ไปแข่งรถตอนอายุ 12-13 ตอนนั้นผมจำได้เลยว่าได้ตังค์มาทั้งหมด 3-4 หมื่น ผมไปซื้อรถบังคับหมดทุกบาท วันนั้นดีใจมากเพราะได้ในสิ่งที่เรานั้นอยากได้ แต่อันนั้นพอผ่านไปอาทิตย์นึง มีความรู้สึกว่า มีทำไมรถบังคับ 4-5 คัน 4-5 คันไม่ได้ช่วยอะไรเลย สิ่งที่เกิดขึ้นคือ คุณเล่นก็เล่นได้ทีละคัน และวันนั้นเรามีตังค์ที่ทำอะไรได้อีกเยอะมันก็มีความรู้สึกว่าเสียดายกับการตัดสินใจกับอะไรต่างๆ ที่ผมย้อนเล่าเรื่องนี้เพราะมีคนถามบ่อยว่า มีนาฬิกาทำไมหลายเรือน ข้อมือก็มีข้อมือเดียว ผมก็เลยมองแล้วบอกว่า มองดูสิในกล่องนี้ วันนึงคุณอยากใส่เรือนไหนคุณตอบได้ไหม มันก็ตอบได้ว่าวันนี้อยากใส่เรือนไหน ก็ดูก่อนว่าวันนี้แต่งตัวสีอะไร ก็แต่งตัวให้มันเหมาะสมกัน ผมหาคำตอบให้ตัวเองอีกที ก็บอกได้ว่าก็ดูสี แต่ละเรือนมันมีเอกลักษณ์ของมัน มันไม่ใช่นาฬิกาปาเต๊ะ โรเล็กซ์ 4-5 เรือนที่ไม่มีความแตกต่างของคาแรคเตอร์หรือเอกลักษณ์ของนาฬิกา (ที่จริงมันเข้ากับคาแรคเตอร์และคำสอนที่ว่าลูกคนกลางต้องเข้ากับใครก็ได้ คาแรคเตอร์นาฬิกาG shock ก็เหมือนกันคือ เข้ากับใครก็ได้ : ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ)
ผมว่ามันเป็นสีสัน เป็นความสนุกของการตื่นเช้ามา แต่งตัวจะไปเล่นกีฬาจะไปอะไร ได้มองดูเรือนไหนมันเหมาะ การเป็นนักสะสมไม่จำเป็นจะต้องมีจำนวนเยอะ จะถามว่า ผมทำงานเหนื่อย ผมทำงานหนัก ทำทุกๆอย่างมา การที่จะมาเสียกับนาฬิกาหลักพัน หลักหมื่น แล้วมีความสุข ผมว่ามันคุ้มค่า เวลาซื้อไม่ได้ทุกคนหรอก แต่นาฬิกาพอซื้อได้ เราก็คลั่งมาซื้อนาฬิกา เพราะเวลาเราซื้อไม่ได้ และผมมองว่า คือคนที่ชอบ G shock ก็เพราะเค้าเห็นแบบนี้ว่านี่แหละเสน่ห์ของ G shock นี่แหละคือความชอบของ G shock มันมีหลายทรงหลายสี หลายคาแรคเตอร์ เหมาะสมกับทุกสถานการณ์ ความชอบแบบเหลี่ยมแบบกลม ความมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเฉพาะรุ่น
คุณต๊อด ปิติ กำลังวางแผนจะทำรุ่นสะสมพิเศษจำนวนจำกัด G-Shock Collector Thailand โดยจะทำเป็น 3 สี ๆ ละ 100 เรือน จะมี สีน้ำเงิน แดง ขาว ธงชาติไทยเลย ติดตามข่าวกันเรื่อยๆ ครับสำหรับคนที่อยากสะสม เพราะทำด้วยอารมณ์ใจรัก ขายกันในราคาต้นทุนผลิตไม่เอากำไร แต่เอาความสุขชองการสะสมมาแจกจ่ายให้เพื่อนๆ ในวงการสะสม ที่จะมีรุ่นเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยขึ้นมาสะสมกันอีกรุ่นนึง ขายให้เฉพาะคนที่ตั้งใจจะสะสมด้วยนะครับ ไม่ขายให้คนที่คิดจะเอาไปขายต่อ ใครจะไปขายต่อขอซื้อคืนเลย คุณต๊อด บอก นอกจากนั้น แต่ละสี ยังทำออกมาเป็นลวดลายสวยงาม และมีโลโก้เฉพาะตัว เช่น “โลโก้ว่าว” เพราะว่า พระยาภิรมย์ภักดี (คุณทวดของคุณปิติ) เป็นประธานสมาคมกีฬาไทย และเป็นแชมป์ว่าว เลยนำเรื่องราวนี้มาทำเพื่อรำลึกถึง, “โลโก้หนุมานคาบศร” ซึ่งเป็นโลโก้บริษัทบุญรอดดั้งเดิม และ “โลโก้สิงห์แดง” โลโก้เบียร์สิงห์รุ่นดั้งเดิม รวมทั้งหมด 3 สี 3 โลโก้กันเลย
(ความคิดเห็นส่วนตัวในฐานะผู้สัมภาษณ์นะครับ ผมว่าลึกลงไปในตัวตน คุณต๊อด ปิติ ทุกครั้ง มีความทรงจำของวัยเด็กอยู่ และใครอาจจะไม่สังเกตว่า ของสะสมย่อมสะท้อนบุคลิกภาพผู้ใช้ ที่จริง G shock สะท้อนถึงความเป็นคาแรคเตอร์ ในคำสอนที่ว่าลูกคนกลางต้องเข้ากับใครก็ได้มากๆ เพราะ คาแรคเตอร์นาฬิกาG shock ก็เหมือนกันคือ เข้ากับใครก็ได้ เข้าได้กับทุกคน ความมีหลายสี หลายทรง หลายคาแรคเตอร์ที่เลือกได้ เหมาะสมกับทุกสถานการณ์ เช่นกันครับ หรืออาจจะบอกว่านี่แหละใช่เลย เข้ากัน และสะท้อนคาแรคเตอร์จริงๆ ของคุณ คุณต๊อด ปิติ อย่างไม่น่าเชื่อเลย ถ้าหากใครจะสังเกตเห็น)
G-Shock Collector Thailand Interview เพิ่มเติม ที่อยากให้ฟัง
สุดท้ายของการสัมภาษณ์ สิ่งที่ประทับใจความรู้สึกของคนวงใน Thai G-shock Colletor ด้วยกัน คือ รู้สึกได้ถึงน้ำใจ เพราะสำหรับ นักสะสม G shock นาฬิกาแต่ละเรือน เป็นเรื่องของเรื่องราวและความมีค่าทางใจ เป็นความสุขของการสะสมจริงๆ แต่ยอมแบ่งปันให้เพื่อนนักสะสมในแวดวงด้วยกันได้ ไม่ใช่เพราะราคา แต่เพราะว่าในจำนวนที่สะสมนั้น ถ้าเห็นว่าเรือนไหนน่าจะแบ่งปันให้ได้ และเชื่อใจว่าผู้รับนั้นควรค่าแก่การรับ ไม่ได้เอาไปเพื่อขายต่อ เรื่องราวเหล่านี้เป็นเรื่องของหัวใจ และความสุขล้วนๆ ที่ก้าวข้ามเรื่องราวของกำไร เงินทอง และมูลค่าที่จะเอามาอวดกัน บางครั้งก็ให้เพราะว่าไม่อยากให้ไปเสียตังค์กับพ่อค้าที่มากเกินไป บางครั้งก็เห็นว่าสะสมไว้เป็นร้อยเรือนแล้ว แต่เรือนนี้มันเหมาะกับเพื่อน เหมาะกับน้องก็ให้กันได้ อันนี้ทำให้รู้สึกถึงน้ำใจที่มีต่อกัน นี่แหละอารมณ์ของนักสะสม G shock ตัวจริง พี่น้องที่มีน้ำใจจะให้กันจริงๆ
Jinglebelltour.com | มุมมองที่คุณไม่เคยรู้จักกับคุณต๊อด ปิติ ภิรมย์ภักดี ในฐานะนักสะสมนาฬิกา G-Shock
[…] […]
Thai G-Shock Collector ต๊อด ปิติ ภิรมย์ภักดี กับ คาแรคเตอร์ที่ไม่เคยมีใครได้รู้
[…] – คุณต๊อด ปิติ ภิรมย์ภักดี นักสะสม G-Shock… […]
G-Shock ดียังไงทำไมถึงนิยมสะสมกัน และ สัมภาษณ์ Thai G-Shock Collector นักสะสมอันดับต้น ๆ ของเมืองไทย | ThaVenture
[…] – คุณต๊อด ปิติ ภิรมย์ภักดี นักสะสม G-Shock… […]
เปิดใจครั้งแรกกับคนดัง ในบทบาทนักสะสม G-Shock ของเมืองไทย | Maam Journey
[…] ได้ฝากถึงนักสะสมรุ่นใหม่ Thai G Shock Collector ด้วยนะคะ ขอให้เลือกที่ชอบ […]
Thai G-Shock Collector Sees Personal Value in Watch Collection | star-traveller.comstar-traveller.com
[…] […]