10 ข้อที่ต้องเตรียมตัวเวลาพาครอบครัวไปเที่ยวญี่ปุ่นด้วยตัวเอง

เวลามีเรื่องไปหาหมอในญี่ปุ่น นี่ถือว่าสถานการณ์คับขัน ลุ้น และเป็นสถานการณ์จำเป็นที่เลี่ยงไม่ได้จริงๆ นะครับ ถ้าใครเจอสถานการณ์นี้รับรองยิ้มไม่ออก สมองตื้อตันคิดไม่ออกว่าจะต้องทำอะไรกันบ้าง กำลังเที่ยวญี่ปุ่น กันสนุกๆ ก็ต้องหักมุมกันแบบตั้งตัวไม่ติด ถ้าเรารู้ว่าต้องเตรียมตัวยังไงบ้างก็คงดี

ปกติแล้ว เที่ยวญี่ปุ่นด้วยตัวเอง เป็นช่วงเวลาสนุกสนาน เป็นช่วงเวลาของการพักผ่อน อารมณ์ ได้ เที่ยวญี่ปุ่นด้วยตัวเอง สนุกมาก และน้อยคนจะเตรียมตัวเผื่อเวลาที่ตัวเอง หรือคนในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ เด็กๆ เจ็บป่วย ในระหว่างการเดินทาง ซึ่งที่จริงโดยประสบการณ์ส่วนตัวที่เจอมา อยากบอกว่าไม่ควรประมาทครับ 2 ใน 10 ครั้งของการเดินทางเคยป่วยในญี่ปุ่น และ 1 ใน 10 ครั้ง เจอเหตุการณ์ที่ลูกชายคนเล็กป่วยกระทันหัน ต้องไป หาหมอในญี่ปุ่น เลยเอาประสบการณ์มาเล่า เผื่อให้ทุกคนเตรียมตัวเผื่อเอาไว้กันบ้าง เที่ยวญี่ปุ่นด้วยตัวเอง ควรเตรียมอะไรบ้าง ถ้ามีคนในครอบครัวไปด้วย โดยเฉพาะ พาพ่อแม่ที่สูงอายุไปเที่ยวญี่ปุ่น หรือมีเด็กเล็กไปเที่ยวด้วย

หาหมอในญี่ปุ่น

สุดตัวสุดหัวใจ เวลาลูกป่วย

1. ควรมียาพื้นฐานที่คนในครอบครัวเคยใช้ได้ผลดีและคุ้นเคย ตั้งแต่ยาแก้ปวด ยาแก้ท้องเสีย พลาสเตอร์ ผงเกลือแร่ ยาธาตุน้ำแดง ยาธาตุน้ำขาว ฯลฯ ติดไปเป็นกระเป๋ายาเล็กๆในกระเป๋าเดินทางเสมอ

หาหมอในญี่ปุ่น

ตั้งสติ เตรียมพร้อมให้ดี

2. ถ้าพบว่า คนในครอบครัวเรา มีอาการป่วยมากกว่าที่ยาพื้นฐานที่เตรียมมาจะใช้ได้ อย่ามัวตกใจ ให้คอยสังเกตอาการทั้งหมดและจดบันทึก รวบรวมข้อมูลอาการป่วยให้ละเอียด และสังเกตอาการป่วยทื่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ ก่อนรีบไปหาหมอให้เร็วที่สุด ระหว่างนั้นพยายามเรียบเรียงข้อมูลให้ครบถ้วน เผื่ออาจจะให้ใครช่วยแปล เพื่อให้ง่ายกับการสื่อสารกับหมอญี่ปุ่นให้มากที่สุด ยิ่งข้อมูลครบถ้วน หมอยิ่งสันนิษฐานอาการป่วยง่ายขึ้น

หาหมอในญี่ปุ่น

ภาพเปรียบเทียบระหว่างช่วงบ่ายกับช่วงค่ำ

3. ควรมีความรู้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้กับคนในครอบครัวไว้บ้าง เช่น อย่างกรณีของผู้เขียน ลูกมีอาการถ่ายท้องเป็นมูกเหลวปนเลือด นอกจากการเก็บตัวอย่างบางส่วนไว้ให้หมอตรวจเชื้อ ถ่ายภาพทุกอย่างเก็บไว้อ้างอิงแล้ว ก็ไปหาซื้อน้ำ OS หรือน้ำเกลือแร่สำหรับผู้ป่วย ให้ทานชดเชยส่วนที่เสียไป ป้องกันการสูญเสียน้ำและเกลือแร่มากจนหมดสติในระหว่างการเดินทาง จนกว่าจะถึงมือหมอ เรื่องควรรู้คือ มียาพื้นฐานหลายชนิดที่สามารถซื้อในร้านขายยาได้ ไม่ใช่ว่าซื้อไม่ได้เลย โดยเฉพาะน้ำเกลือแร่ OS-1 ดีมากสำหรับการพกพาติดกระเป๋า ซึ่งโชคดีที่ผู้เขียนเองชอบซื้อติดกระเป๋าบ่อยๆ ไว้ดื่มระหว่างเดินทางเซอร์เวย์สถานที่ใหม่ๆไกลๆประจำ เพราะชอบทดลองชิมอาหารใหม่ๆรอบตัวระหว่างเดินทางไปเรื่อยๆ เลยพอรู้ว่าจะซื้อได้ที่ไหนบ้าง

หาหมอในญี่ปุ่น

ต้องไม่ลืมพาสปอร์ต เพราะการทำบัตรคนไข้ต้องใช้พาสปอร์ตประกอบทุกครั้ง

4. พาสปอร์ตของเด็ก ค้นมาเตรียมไว้ให้พร้อม เพราะจะต้องใช้สำหรับการอ้างอิงทำบัตรคนไข้ นอกจากนั้นถ้ามีกรมธรรม์ หรือประกันเดินทางที่ซื้อไว้ ให้รีบแจ้งผ่านช่องทางติดต่อที่มีให้ทันที หรือถ้ามีเพื่อนที่เมืองไทย รีบให้ข้อมูลและฝากเพื่อนที่เมืองไทยช่วยประสานจะได้หมดกังวลไปอีกเรื่องในการรีบติดต่อประสานให้ประกันรับรู้ โดยเฉพาะเมื่อประกันรับทราบแล้วจะได้ติดต่อประสานกับทาง รพ.ที่เรากำลังไปได้ ถ้ารู้ชื่อ รพ.และเบอร์ติดต่อ รพ.เมื่อไหร่ให้เก็บข้อมูลแจ้งกำกับไปด้วย

หาหมอในญี่ปุ่น

ค่ารักษาในญี่ปุ่นจ่ายเงินสด ควรเตรียมเงินสำรองจ่ายมาให้พอ

5. เตรียมเงินพร้อมสำรองจ่ายเท่าที่มีได้ทั้งหมด เพราะค่ารักษาในญี่ปุ่นสูงมาก และต้องเตรียมเงินสดไว้ด้วยเพราะหลายที่ไม่รับบัตรเครดิต อาจต้องเบิกเงินเพิ่ม สรุปว่าเตรียมพร้อมให้มากที่สุด เพราะพอไปถึง รพ. การไปหาเบิกเพิ่มบางทีจะยิ่งยากกว่า หรือเสียเวลามากๆ

 

6. เตรียมอุปกรณ์สื่อสารให้พร้อม พร้อมแบตสำรองเผื่อลูกแอดมิท เผื่อต้องติดต่อกับทางเมืองไทย หรือขอความช่วยเหลือ ถ้าแบตหมดจบข่าวติดต่อใครไม่ได้เลย

หาหมอในญี่ปุ่น

ระหว่างการตรวจหาสาเหตุอาการป่วย

7. รีบบอกกล่าวหรือติดต่อแจ้งพรรคพวกเพื่อนฝูงที่รู้จักกันล่วงหน้าให้ทราบข้อมูลพื้นฐานทั้งหมดไว้อย่างน้อย 1 คน เผื่อเป็นแหล่งข้อมูลทางเมืองไทย เพราะเรายังไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งพอมีสถานการณ์แบบนี้ เราจะมีสมองคิดเรื่องรอบตัวได้น้อยมาก ถ้าหากมีเพื่อนรับรู้และทราบเรื่อง อาจช่วยผ่อนหนักเป็นเบาได้ง่าย รวมทั้งเตรียมตัวรับปัญหาการสื่อสารให้เข้าใจถึงอาการป่วยของเด็กให้หมอและพยาบาลเข้าใจ ไปจนถึงการทำความเข้าใจก่อนตัดสินใจว่าจะทำอะไรต่อไปในกรณีที่ลูกเจ็บป่วยมากต้องมีการผ่าตัดฉุกเฉิน

 

8. ถ้าทำได้ พยายามเขียนเรียบเรียงอาการทั้งหมดของลูกล่วงหน้าให้ครบถ้วน และหาคนช่วยแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นล่วงหน้าให้เรียบร้อย ก่อนเดินทางไปถึงยิ่งดี เพราะจะช่วยได้มากๆ (ข้อนี้ตอนแรกมัวแต่จะรีบพาลูกไปหาหมอ ถ้าเรียบเรียงเสร็จแต่แรกแล้วส่งให้เพื่อนที่แปลเป็นภาษาญี่ปุ่นได้ก่อนก็จะสะดวกขึ้นมากๆ มานึกได้ทีหลัง เลยคิดว่าจะเอามาเขียนไว้เตือนตัวเองและเผื่อมีประโยชน์กับคนอื่นด้วย)

หาหมอในญี่ปุ่น

เก็บข้อมูลทุกอย่างให้มากที่สุด แบ่งหน้าที่กันทำแทคทีมระหว่างพ่อแม่สำคัญมาก

9. พยายามรู้จักหมอเด็ก มีเพื่อนที่เป็นหมอเด็กที่มีประสบการณ์การรักษาไว้เยอะๆ เพราะระหว่างการเดินทางไปหาหมอในญี่ปุ่น เราก็สามารถแจ้งอาการที่เก็บข้อมูลรายละเอียดอาการ พร้อมภาพถ่ายส่งไปให้หมอเด็กทางเมืองไทยสันนิษฐาน หรือวินิจฉัยไปพร้อมๆกันได้ การเชคแนวโน้มข้อมูลของโรคและทิศทางการรักษาของโรคแต่ละชนิดจะช่วยเราได้มาก เพราะโรคเดียวกันส่วนมากมักมีแนวทางที่คล้ายกัน มีชื่อทางการแพทย์ตรงกัน การที่เตรียมตัวข้อมูลเหล่านี้ก่อนไปหาหมอจะทำให้เรารู้ว่าควรจะต้องตัดสินใจอย่างไรเมื่อหมอทางญี่ปุ่นให้เราตัดสินใจเลือกวิธีการตรวจหาอาการ หรือวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับเด็ก

ป่วยในญี่ปุ่น

ไม่มีใครอยากให้ลูกป่วยในต่างแดน แต่ไม่ว่าจะระวังยังไงก็เกิดขึ้นได้

10. ตั้งสติให้ดี เพราะเวลาเข้าสู่สถานการณ์เต็มจะมีเวลาคิดและสมองน้อยมาก พยายามลดความตื่นตกใจ ความกังวล ความห่วงลูกให้อยู่ในระดับที่ยังมีสมองจัดการปัญหาตรงหน้า ถ้าแบ่งแทกทีมสำหรับคุณพ่อและคุณแม่ไม่ต้องทำเรื่องเดียวกัน คนนึงทำเรื่องนึง อีกคนต้องเข้าใจไปทำอีกเรื่องเสริมได้จะดีมาก เช่น คนนึงทำหน้าที่เฉพาะหน้าในการสื่อสารกับหมอและพยาบาลในการสื่อสารทำความเข้าใจอาการเบื้องต้น อีกคนติดต่อสื่อสารกับเพื่อนๆทางช่องทางที่มี เช่น โทรศัพท์ ไลน์ หรือ โซเชียลมีเดีย เพราะคนๆ เดียวแยกสมองไม่ได้ และสื่อสารพร้อมกัน 2 ทางยากมาก

 

เรื่องที่จะเตือนเพื่อนๆ สายโซเชียลอีกเรื่องจากประสบการ์ตรง ก็คือ การหาเพื่อนสักคนไว้รับทราบข้อมูลทั้งหมดและคอยตอบคำถามแทน โดยมากควรเป็นคนในข้อ 9 เพราะเวลาที่ทุกคนรับทราบในโลกโซเชียล คำถามจะแห่เข้ามาเยอะมากๆ จนไม่มีเวลาอ่าน และไม่รู้จะอ่านของใครก่อน ในเวลาขณะนั้น ที่จริงคุณจะต้องใช้สติแบ่งแยกสำดับความสำคัญให้ดี เลือกเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องมากที่สุด และต้องสนใจเรื่องเฉพาะหน้าที่สุด

 

สุดท้ายนี้อยากบอกว่า การไป เที่ยวญี่ปุ่นด้วยตัวเอง ยิ่งเราเตรียมพร้อมไม่ประมาทสำหรับลูกเรามากเท่าไหร่ ยิ่งดี เพราะเราไม่มีบริษัททัวร์ ไกด์ หรือหัวหน้าทัวร์มาดูแลให้เรา เวลาลูกป่วยในต่างแดน หัวใจเราจี้ดเพราะเราไม่มีศักยภาพในการจัดการมากเท่าอยู่บ้านเรา จึงต้องเตรียมตัวให้พร้อมมากที่สุด มียาเตรียมยา มีประกันการเดินทางได้ก็ควรมี ควรเลือกซื้อประกันการเดินทางให้ดี โดยเฉพาะที่สามารถสำรองจ่ายให้เราได้ในกรณีที่ค่าใช้จ่ายเกิดเป็นเคสใหญ่ๆ เกินกำลังจะช่วยได้มาก ไม่งั้นเราก็ต้องเตรียมไปหยิบยืมเงินใครมาสำรองจ่ายก่อนถึงจะกลับเอาไปเบิกได้

ประกันการเดินทาง

ประกันระหว่างการเดินทาง

ถึงแม้ว่าการท่องเที่ยวจะเป็นเรื่องสนุกสนาน แต่ก็มีนักท่องเที่ยวส่วนนึงที่มีปัญหาเจ็บป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุได้ ถ้าเราไม่ประมาท และเป็นหนึ่งในกลุ่มนี้ อย่างน้อยก็ขอให้เราพร้อมมากที่สุดและผ่านมันได้ได้ด้วยดี เขียนไว้เป็นข้อมูลสำหรับคนที่ชอบ เที่ยวญี่ปุ่นด้วยตัวเอง ด้วยกันนะครับ ขอให้เดินทางท่องเที่ยวญี่ปุ่นกับครอบครัวอย่างมีความสุขและสนุกสนาน และปลอดภัยครับเพื่อนๆ