จากไอเดียสะพานน้ำ อควาดัค ถ้าประยุกต์เอาวิธีนี้มาใช้ทำทางด่วนน้ำบายพาส จะช่วยยกน้ำข้ามอยุธยา ข้าม กทม.ไปลงทะเลได้โดยตรง หรือจะถ่ายน้ำจากเขื่อนได้โดยไม่เดือดร้อนชาวบ้าน ได้อย่างสบายๆ

ในภาพจากในเยอรมันเขาทำขึ้นใหม่ ความกว้างขนาดใช้เรือขนส่งทางน้ำได้ด้วย กลายเป็นเส้นทางขนส่งในยามปกติ และสะพานถ่ายน้ำจากเหนือลงทะเลสบาย เนื่องจากความชัน-ลาดเอียงระหว่างเชียงใหม่ นครสรรค์ ถึงกรุงเทพ อยู่ระดับ 30- 45 องศา

http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/chaopraya_chart/chaopraya.php

ไอเดียหลักที่ผมคิดนี้ต่อยอดมาจาก การใช้คลองลัดโพธิ์ ที่ดำเนินการตามแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นช่องลัดในการระบายน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงที่ มีความคดเคี้ยวโค้งอ้อมเป็นระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร สั้นลงเหลือประมาณ 600 เมตร
http://www.pe.eng.ku.ac.th/files/semimar/2010/Group7/

การย่นระยะทางการระบายน้ำให้สั้นลง โดยใช้ทางด่วนน้ำก็คล้ายกันครับ โจทย์สำคัญก็คือ การทำให้เราระบายได้เร็วขึ้นในเวลาที่น้อยกว่า

ดังนั้นถ้าเราเอาไอเดียนี้มาดัดแปลงเส้นทางน้ำให้สั้นลงได้ และสามารถรองรับน้ำได้มาก น้ำก็จะระบายเร็วขึ้น ก็เหมือนทางด่วนของน้ำแหละครับ เป็น ทางด่วนถ่ายน้ำบายพาส ที่อาจจะใช้แนวแก้มลิงเดิม แยกทำหลายเส้นลงทะเล ในยามฉุกเฉิน นอกจากนั้นเราสามารถติดตั้งระบบดันน้ำให้น้ำระบายได้เร็วขึ้นได้ในตัว ทำให้ควบคุมระบบน้ำได้ดีขึ้นอีก การทำเส้นทางเฉพาะจะไม่ไปทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนในระยะยาว หรือมีชาวบ้านไปใช้พื้นที่เส้นทางน้ำอย่างที่เคยเกิดปัญหา

ทำสะพานถ่ายน้ำบายพาสผ่านแนวแก้มลิงเดิมก็ได้กันพลาด หรือทำหลายเส้นก็ได้ไปตามแนวเส้นถนนรอบนอกหลายๆเส้น เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระกระจายปริมาณไปหลายๆทาง และหาเส้นทางลัดน้ำออกทะเลไปเลยตรงๆ อีกไอเดียเสริมก็คือ แทนที่จะสร้างกำแพงกั้นน้ำแบบเดิม เราก็สร้างคันกั้นน้ำสูงที่มีช่องว่างตรงกลางเป็นคลองทางด่วนน้ำ ปริมาณน้ำที่ล้นมาจากคันกั้นน้ำ ก็จะมีคลองทางด่วนน้ำรองรับอีกชั้น ช่วยรองรับการระบายน้ำออกไปให้เร็วที่สุด

การสร้างเส้นทางระบายน้ำตัดตรงพาน้ำไปลงทะเลเป็นกำแพงส่งน้ำ ให้น้ำระบายออกไปทีเดียว เป็นทางด่วนน้ำบายพาส เราก็จะมีคันกั้นน้ำถาวรขนาดใหญ่มาก ที่สามารถกั้นน้ำสูงๆได้ และยังมีความสามารถระบายน้ำได้ด้วยพร้อมๆกัน

ส่วนในยามปกติ ผมว่าเราอาจสามารถใช้ประตูกั้นน้ำทำให้เป็นเส้นทางน้ำในการสัญจร หรือกระจายน้ำให้เกษตรกรได้อีกช่องทางหนึ่งครับ

ในเยอรมัน ในยุโรปมีตัวอย่างต้นแบบ เอาแบบมาดัดแปลงในแบบของเรา น่าจะคำนวนแล้วทำได้เลย..เส้นทางส่วนใหญ่ก็ไม่ใช่สะพานทั้งหมด มีแนวสันคลองยาวได้ทำให้ประหยัดงบ

ปัจจุบันกรุงเทพมีการระบายออก 2 ฝั่งตลอดเวลาแต่ขนาดนั้นก็ยังประมาณว่าจากปริมาณน้ำทั้งหมดที่มานั้นยังอีกเป็นเดือนๆกว่าจะระบายหมด

ฝั่งทิศตะวันออก ระบายน้ำลงสู่คลองระพีพัฒน์ คลองแสนแสบ คลองพระองค์เจ้าไชยยานุชิต คลองนครเนื่องเขต คลองประเวศบุรีรมย์ คลองลาดกระบัง และคลองบางโฉลง

ส่วนฝั่งตะวันตก ก็ผันลงแม่น้ำท่าจีน ผ่านคลองมหาสวัสดิ์ คลองภาษีเจริญ คลองทวีวัฒนา คลองงิ้วราย คลองพระยาบันลือ คลองมหาชัย คลองสหกรณ์ คลองทรงคนอง และคลองท่าข้าม

มีขนาดนี้เรายังระบายไม่ทัน เพราะขณะที่ปี 2554 ที่เราเผชิญอยู่ อัตรากระแสน้ำไหลลงมาจากภาคเหนือ 465 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยสามารถระบายออกสู่ทะเลได้ 550 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน” ขณะนี้มีมวลน้ำรวมทั้งหมดในประเทศไทย 1.6 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร ‼ (อ้างอิงข้อมูล (ศปภ.) เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2554)

ส่วนต่าง ความสามารถในการระบายออกสู่ทะเลได้ 550 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ลบม./วัน กับน้ำ 1.6 หมื่นล้าน ลบม. คิดเอาเองครับ ว่าถึงเวลาหรือยังที่เราจะต้องทำทางด่วนน้ำบายพาสโดยตรงเพิ่มขึ้น