ขอแนะนำ แฟนเพจ I love 70’s & 80’s ครับ
สำหรับคนที่ชื่นชอบดนตรียุค 70-80 คอเดียวกันไม่น่าพลาดครับ
ล่าสุดสัมภาษณ์ชิ้นนี้ คุณเล็ก วงศ์สว่าง คอเพลงยิ่งไม่น่าพลาด
ยกมาพอสังเขปสัก 1 บันทึกที่มีคุณค่าน่าอ่านแล้วตามไปอ่านกันที่
I love 70’s & 80’s ครับ
http://www.facebook.com/topic.php?uid=130648456947813&topic=206

ลองอ่านนะครับ….เกร็ดประวัติศาสตร์แบบนี้ไม่ได้หากันง่ายๆทีเดียว

I love 70’s & 80’s คุณเล็กเริ่มต้นทำหนังสือเพลงประเภทมีคอร์ดกีต้าร์ได้อย่างไร

สมัยที่คุณเล็กเป็นนักจัดรายการที่เสียงสามยอด ผู้ฟังสนใจและขอเนื้อร้อง จึงอยากได้คอร์ดกีตาร์ด้วย จึงคิดว่าควรใสคอร์ดลงในเนื้อเพลงด้วยเนื้อเพลงกำกับด้วยคอร์ดเป็นคนแรกของประเทศไทย ซึ่งเพลงเป็นสากลในยุค 60s ส่วนใหญ่ฟังเพลงสากลมากกว่าเพลงไทย สถานีวิทยุต่างๆ ใน กทม. ไม่น้อยกว่า 80 % เป็นส่วนใหญ่เปิดเพลงสากล ทำให้นักจัดรายการในสมัยนั้นเป็นผู้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยมีคณเล็กเป็นหนึ่งในนั้นและถ้าจะถามว่าจากเพลงสากลใส่คอร์ด

ทำไมเปลี่ยนเป็นเพลงไทยใส่คอร์ด เนื่องจากปี 2517 เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้้งยิ่งใหญ่ของเมืองไทย วัยรุ่นในยุคนั้น ที่เคยสนใจเพลงสากล ทั้งที่ในยุคนั้น วงดนตรีเกิดขึ้นมากมายตามสไตล์ของ Cliff Richard วง The Shadowยุคนั้นนักดนตรีของเมืองไทยเลียนแบบทันที เพราะวง Shadow มีคนเล่นไม่มาก มีกลอง เบส โซโล่ คอร์ด แค่ 4 คน เท่านั้นเอง ยุคแรกของเมืองไทยที่เลียนแบบวง Shadow ก็คือ Louis Guitar Blue, Charming Boy, I.S. Combo, Silver Sand, etc. ส่วนวงดนตรีที่เป็นวงค่อนข้างมาตราฐานโดยมีเครื่องสีตี เป่า ไวโอลิน แซ็คโซโฟน ในยุคนั้นมี 3 คณะ 1. วงวาทินี โดยมีคุณประกาย สินธุวานิช เป็นหัวหน้าวง นักร้องที่โด่งดังในยุคนั้นคือ โสภิดา บุนนาค, สดใส แจ้งกิต2. วงยุวสิน นำโดยผุสดี นรรฆมนตรี 3. วงมิตรสังคม นำโดยวาสนา จงวิไล ลูกสาววิมล จงวิไล

หลังจากปี 2517 ที่วัยรุ่นเคยให้ความสนใจเพลงสากล และชอบวงดนตรีที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของเมืองไทยก็คือ วัยรุ่นทั้งหมดหันหลังให้เพลงสากล หันมาสนใจเพลงสตริงไทยเพราะวงดนตรีสตริงไทยที่เล่นสไตล์แบบ Shadow หันมาเล่นแต่เพลงไทย เช่น วงรอยัลสไปรท์ วงอิมพอสซิเบิ้ล วงแกรนด์เอ็กซ์ วงชาตรีวงต่างๆ เหล่านี้หันมาสนใจเล่นเพลงไทยมากกว่าเพลงสากล ยิ่งวงคาราบาว คาราวาน มาเล่นเพลงเพื่อชีวิต ทำให้วัยรุ่นยิ่งลืมเพลงสากล ทำให้ I.S. song hits เริ่มซบเซา แต่เรารู้การตลาดจึงพลิกเป็น The Guitar โดยคุณเล็กเป็นคนริเริ่มนำเพลงไทยใส่คอร์ดเป้นคนแรกของเมืองไทย จากอดีตจนถึงปัจจุบัน นั่นทำให้เกิดนักดนตรีสตริงไทยอย่างมากมายจากอดีต

สรุปข้อที่ผ่านมาคือ จุดเริ่มต้นของ The Guitar แล้วสมัยนั้นไม่มีใครส่งคอร์ดมาให้ แล้วคุณเล็กเอามาจากไหน

สำหรับคอร์ดกีตาร์ที่กำกับในเนื้อเพลงที่เป็นทั้งเพลงสากลและเพลงไทย คุณเล็กเคยเห็นในต่างประเทศมีขายเป็นชีทมีทั้งโน้ตและเนื้อเพลง ยากแก่การเรียนรู้ถ้าคุณไม่ใช่นักดนตรีคุณเล็กคิดว่าเอาเพียงแค่คอร์ดกีตาร์มากำกับในเนื้อเพลงเืพื่อนักกีตาร์สามารถเอาไปร้องและเล่นกีต้าร์ได้โดยง่าย

แต่คอร์ดที่ำกำกับนั้นต้องเป็นคอร์ดที่ถูกต้องและมาตราฐาน โดยมีอาจารย์วีรศักดิ์ หรืออาจารย์หมู ซึ่งเป็นอาจารย์สอนกีตาร์ทีเป็นของสยามกลการเพราะฉะนั้นหนังสือ The Guitar เป็นหนังสือที่นักดนตรีของวงต่างๆๆ เชื่อถือและไว้วางใจแม้กระทั้งคุณแอ๊ด หรือยืนยง โอภากุล แห่งวงดนตรีคาราบาว ขึ้นไปประกาศบนเวทีทันทีที่เห็นคุณเล็กอยู่ในงานมอบโล่ประกาศเกียรติคุณสามเสนวิทยาลัยว่า ถ้าไม่มี The Guitar วันนั้นก็ไม่มีแอ๊ดคาราบาววันนี้ เพราะคุณแอ๊ดเรียนรู้คอร์ดกีตาร์จากหนังสือเล่มนี้ ทำใหคุณเล็ก ซาบซึงและประทับใจ

หนังสือ The Guitar ฉบับแรกซึ่งเปิดตัวมาพร้อมคอร์ดทำยากไหม ราคาเท่าไหร่ จำนวนเท่าไหร่

พูดถึงความยากง่ายของการทำหนังสือ The Guitar ต้องใช้เวลาประมาณ 30 วัน หรือออกเดือนละเล่ม เล่มแรกราคา 7 บาท จำนวนพิมพ์10000 เล่ม และมีการพิมพ์เพิ่มตามการเรียกร้องของแฟนๆๆสาเหตุที่ยอดการจำหน่ายขายได้มากในยุคนั้น เพราะยังไม่มีคู่แข่งและคนเลียนแบบ

Dome Hetfield สวัสดีครับพี่เล็ก guitarist ฉบับภาษาไทย มาเป็นทางเลือกของผู้ชอบเล่นดนตรีอีกฉบับ ทาง The Guitar รับมือยังไงครับ เพราะผมคิดเองว่าน่าจะมีหลายๆครั้ง….ขอบคุณครับ

@Dome สำหรับคู่แข่งของ The Guitar มีไม่น้อยกว่า 10 ราย แต่เราไม่หวัน เพราะเนื่องจากการแกะคอร์ดของเราได้มาตรฐาน และเพลงไหนที่ยากในการจับคอร์ด เราก็จะทดคอร์ดได้ง่าย ซึ่งบรรดาคู่แข่งยังไม่รู้วิธี คอร์ดต่างๆ ของหนังสือ The Guitar เป็นการแกะคอร์ดจากแผ่นเสียงโดยอาจารย์สอนกีตาร์ เพราะฉะนั้นจึงเป็นหนังสือเล่มเดียวที่ได้รับความไว้วางใจ คือ เล่นแล้วเหมือนแผ่น

Rujanee Vun Navanugraha หนังสือ IS Song Hits เกิดปีไหนคะ

@Rujanee I.S. Song hits เล่มแรกโดนปลวกกินไปหมดแล้ว

ถ้าจำไม่ผิดประมาณปี 2507 เริ่มต้นพิมพ์ที่เดียวกับ Current Song Hits ก่อนอื่นขอเรียนให้ทราบว่า I.S. Song hits ไม่ใช่หนังสือเพลงเล่มแรก หนังสือเพลงเล่มแรกของเมืองไทย ชื่อ Hits Palace Songs ของคุณอุฬาร เนื่องจำนงค์ หนังสือเพลงเล่มที่สองชื่อ Mr. Hits ของคุณศักดิ์ประเสริฐ ปาละกะวงศ์ ณ อยุธยา รายที่สาม Current Song Hits ของคุณอุกฤษ พฤกษนันทร์ โดยมีเจียม ลิ้มสดใส เป็นกัปตันทีม ส่วน I.S. Song hits คือรายที่ 4แต่เป็นหนังสือเพลงเล่มเดียวของเมืองไทยที่อยู่ยงคงกระพันตราบจนทุกวันนี้ เนื่องจากสามเล่มแรกเลิกลาไปนานแล้วถ้าถามผมว่า I.S. Song hits เก่งขนาดไหน ขอตอบว่าไม่เก่งกว่าคนอื่น เพียงแต่อดทนกว่าเท่านั้นเอง ส่วนหนังสือ The Guitar เริ่มปี 2512 แต่เป็นเพลงสากลใส่คอร์ด และปี 2516 เป็นต้นมา เป็นเพลงไทยใส่คอร์ดทำให้วัยรุ่นไทยคลั่งไคล้มาก

PeevishLady InBangkok อยากรู้ว่าคุณอาเล็ก ทำอาร์ตเวิร์คในเล่มเองรึป่าวค่ะ หนูชอบแบบฟอนท์ของ The Guitar

@Peevishlady ทำเองครับ เพราะต้องทำเองกับมือ ด้วยเล็ตเตอรเพรส เรื่องทำอาร์ดเวิคท์ สมัยก่อนนี้ ต่างกับสมัยนี้มากมาย เพราะต้องใช้มือทุกตัวอักษรและทุกขั้นตอน การออกแบบเกิดขึ้นจากฝ่ายศิลป์ ไม่ว่าจะเป็น คุณทวี เจริญวงศ์ หรือ คุณไพศาล สุวรรณธาดา ซึ่งเป็นคนออกแบบโลโก้ I.S. Song Hits และถ้าถามว่าโลโก้ของ The Guitar มีความเป็นมาอย่างไร คำตอบก็คือ เป็นรูปผู้ชายนุ่งกางเกงยีนส์ลากกีตาร์ที่คุณเล็กได้มา
จากใบปิดหน้งเรื่อง Some People ฉายที่โรงภาพยนตร์กรุงเกษม คลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งปัจจุบันนี้ถูกทุบทิ้งไปแล้ว (พอได้รับคำถามนี้ คุณเล็กถึงกับคิดถึงคนที่ทำ อาร์ตให้ ถึงกับจดชื่อที่นึกขึ้นมาได้ลงกระดาษเก็บไว้เลย เดาว่า ท่านคงไม่ได้คิดถึงชื่อนี้นานแล้ว)

Nid Distabanjong อยากถามคุณเล็กว่า ปัจจุบันนี้ ก่อนพิมพ์ต้องไปขออนุญาตลิขสิทธิ์จากใครหรือป่าว..เห็นตอนนี้ฮิตเรื่องลิขสิทธิ์กันจัง

@Nid ต้องมีครับ ต้องจ่ายลิขสิทธิ์ทั้งหมด ต้องขออนุญาต

ILuvcanon IluviPod รบกวนถามคุณเล็กครับ ว่าเล่มไหนปกไหนขายดีมากถล่มทลาย พิมพ์หลายครั้ง และตอนนั้นเป็นเพลงของใครบ้างเอาเป็นครั้งแรกละกันครับ

@Iluvcanon หนังสือ I.S. Song Hits เล่มไหนที่ขายดีที่สุด คำตอบก็คือ I.S. Song hits เป็นหนังสือที่ขายได้ แต่เล่มที่ขายดีที่สุด จำไม่ได้ว่าเล่มอะไรบ้าง แต่เล่มที่จำได้แน่ๆ คือ เล่มนั้นหน้าปกต้องเป็นรูป Elvis Presley ซึ่งวัยรุ่นยุคนั้นคลั่งไคล้เป็นที่สุด และต้องยอมรับความจริงข้อหนึ่งว่าไม่มีวงการเพลงยุคไหนที่จะยิ่งใหญ่และดังเท่ายุค60s ทั้งนี้เนื่องจากเพลงเพราะที่สุดอยู่ในยุคนั้น นักร้องดังที่สุดในโลกอยู่ในยุคนั้น

Jesse RawOne การพัฒนาอย่างรวดเร็วของ Computer , IT , และระบบโทรคมนาคมสมัยใหม่ เช่นดาวเทียม จะเป็นปัญหากับการผลิตและ จำหน่ายหนังสือของคุณเล็กหรือไม่ คุณเล็กมีการวางแผนหรือแนวทางที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้อย่างไรครับ

@Jesse มีผลกระทบโดยตรงต่อหนังสือศาลาคนเศร้าอย่างมาก เพราะคนซื้อหนังสือน้อยลง และอีกอย่างคนเริ่มเขียนจดหมายด้วยลายมือไม่เป็นไรแล้ว แต่มักจะพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีผลต่อหนังสือพอสมควร

Chainarong Kumkoon คิดถึง Theme from I.S Song Hits ที่บรรเลงโดยคณะ Hot Pepper ของปราจีน ทรงเผ่า…..ขับร้อง โดย…เรวัติ พุทธินันท์ ที่อินโทรอลังการณ์ขึ้นมาด้วยเครื่องเป่า..แล้วนำเข้าสู่จังหวะฟังกี้..ที่เร้าใจมาก

@ Chainarong ต้องย้อนไปถึงผมจัดรายการที่เสียงสามยอด โดยใช้ไตเติ้ลของรายการ The dark และ The top of the stairs จากการบรรเลงของ Ernnie Freeman ต่อมาจนถึงปี 2517 ยุคที่เมืองไทยกำลังคลั่งไคล้จังหวะดิสโก้ นายแพทย์ทีชิว ผู้คลั่งไคล้เพลงยุค 60s แวะมาปรึกษากับผม ว่าไม่คิดจะเปลี่ยนเพลงไตเติ้ล เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองบ้างหรือ ผมเลยได้ไอเดียนึกถึงทำนองเพลง Tom Dury ไปแต่งเป็นเพลงไตเติ้ลรายการ I.S. และได้ใช้เพลงนี้เป็นเพลงไตเติ้ลตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา หลังจากนั้นปราจีน ทรงเผ่า อยากเรียบเรียงเสียงประสานให้ใหม่โดยให้ เต๋อ เรวัติ พุทธินันท์ เป็นคนร้องนำในนามของวง Hot Pepper

Praphan Trawarasing อยากทราบว่าอะไรคือแรงบรรดาลใจที่ทำให้คุณเล็กยังคงทำหนังสือ The Guitar จนถึงทุกวันนี้?

@Prapan จากการที่คนฟังอยากได้เนื้อจึงทำเป็นชีทแจก ก็เลยทำหนังสือขายจนถึงปัจจุบัน ซึ่งทำให้ The Guitar สามารถอยู่จนถึงปัจจุบัน เพราะเข้าใจความต้องการของแฟนเพลง

Wichai Lertpubprachai ที่โรงพิมพ์มยังมีรูปดารานักร้องรุ่นเก่าๆ หรือเปล่าครับ อยากจะได้ รูป Suzi Quatro ขวัญใจคนแรก จำได้ว่าเป็นรูปนักร้องคนแรกที่ซื้อไปติดห้อง

คุณเล็กตอบว่า ไม่มีแล้วครับ ไม่มีลิขสิทธิ์ครับ

โปสเตอร์ส่วนมากที่เป็นของต่างประเทศพวก Department store สั่งเข้า เช่น Elvis Presley, Cliff Richard ก็เลยนำเป็นตัวอย่างในการทำโปสเตอร์ขนาด 20×30 นิ้ว แรกทีเดียวไม่ได้ทำขาย แต่แถมคู่กับหนังสือ เพื่อปราบคู่ต่อสู้ และชนะในที่สุด เพราะไม่ต้องจ้างพิมพ์ พิมพ์เองขายเอง หลังจากนั้นจึงรู้ว่าแฟนวัยรุ่นเพลงสากลนิยมโปสเตอร์ที่แถม จึงได้ทำขายแผ่นละ 5 บาทและผมเป็นคนแรกของเมืองไทยที่พิมพ์โปสเตอร์ขนาดเท่าตัวจริงของดวงชีวัน โกมลเสน อีกคนก็คือ รุ่งทิวา หอมหวล และนิด อรพรรณ พานทอง และดาริน กรสกุล

นักจัดรายการในอดีตนอกจากคุณเล็กแล้วมีใครบ้าง

นักจัดรายการคนแรกของเมืองไทยชื่อ หลุยส์ ธุระวนิชย์
คนที่สองคืออุราณ เนื่องจำนงค์
คนที่สามคือ ไศล โสภิน หรือ ไศล สีสาทร

สามคนนี้คือ นักจัดรายการยุคแรกของเมืองไทย
ยุคต่อมาเรียงตามลำดับคือ ปราโมทย์ ร. จรัสศรี (จักรินทร์ รสนา)
ต่อมาคือ ก้องเกียรติ ณ ระนอง , เทวัญ วนะภูติ, วัฒนา อัตถากร, อัศวิน พิชญะโยธิน, โล ธุระวณิชย์, ณรงค์ ปานเจริญ, ป้อมเพชร ปัญญาดี, ปัญญา ทวิภัทร, เล็ก วงสว่าง , เจียม ลิ้มสดใส, เสกสรร ภู่ประดิษฐ์, รุ้งตะวัน วงศ์เกรียงไกร, วิฑูรย์ วทัญญู, วิทยา ศุภพรโอภาส (แหบ) ล้วนเป็นดีเจเพลงสากลชื่อดังในอดีตทั้งสิ้น

คุณเล็กมีความรู้สึกดีใจ และซาบซึ่งเป็นอย่างมากที่มีคนสนใจเพลงเก่า และมีรสนิยมเดียวกัน มีจุดประสงค์และความมุ่งหมายเดียวกัน คือ ชอบและอนุรักษ์เพลงที่อยู่ในความทรงจำตลอดกาลและตลอดไปเท่าที่มีลมหายใจอยู่คุณเล็กเล่าเรื่องมากมายแล้ว ก็ขอจบการสัมภาษณ์ และให้แฟนๆ ติดตามรายการตามที่ได้แจ้งไว้ และถ้าอยากได้ผลงานเก่าๆ ให้แวะมาที่ I.S. http://www.isbookonline.com/
เพลงโปรดของคุณเล็ก คือ Dreamy Eyes – Johnny Tillotson ขอฝากให้กับแฟนเพลงทุกคน