ในอีกด้านที่อยากเขียนถึง คือในมุมมองที่มีต่อผู้เล่นโดยตรงครับ
เทปนี้ ทำให้ผมหายคาใจไปได้เยอะ เพราะหลายคำตอบในเทปแรกอยู่ในนี้นี่แหละ

ในภารกิจที่ 2
จุดแรก เทคนิคในการที่กรรมการสลับ 2 คนนี้ให้ไปทำหน้าที่ในอีกทีมหนึ่ง
คือ การให้โอกาสและบทบาททดสอบตัวเองอย่างสูงสำหรับบุคลากรในองค์กร

สำหรับในเกมกลยุทธ์ เป็นบททดสอบโดยตรง สำหรับ ดิว และ น้ำฝน
(ซึ่งทำให้เราเห็นบทบาทของ 2 คนนี้มากขึ้น)
แถมเมื่อให้โจทย์ 4Ps โดยกำหนดพื้นที่ ซึ่งเป็นจุดที่หัวหน้าทีมทั้งสองฝ่ายรู้จักดี
นั่นหมายถึงว่าโจทย์ที่กำกวมในเรื่องเวลาสำหรับการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายจะลดลงไปด้วย

งานนี้จึงเป็นความหมายในการตอบโจทย์ของภารกิจ ล้วนๆ
และทั้งสองทีมทำได้ดีทั้งคู่ ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันเท่าไหร่ในเรื่องของการลงพื้นที่
เพียงแต่ระยะห่างของรายได้นั้น ต่างกันมาก
ผลลัพธ์ของภารกิจนี้ ผลการทำรายได้ของทั้งสองทีมแตกต่างกันมาก ย่อมมีที่มาครับ
เห็นว่าในรายการไม่ได้บอกไว้ เลยถือโอกาสเสริมนะครับ

จุดแรกที่น่าสนใจและเป็นตัวแปรแรกก็คือสถานที่ (place) ครับ
ทั้งสองฝ่าย ทั้ง ดิว และ น้ำฝน ต่างรู้ดีว่าจะต้องหาจุดที่ทราฟฟิกของคนจะมาลงตัวที่สุดสักจุดนึงในเชียงใหม่
คือถนนคนเดิน ที่จะปิดถนนเดินกันขวักไขว่ และจุดที่คนหมุนเวียนมากที่สุดอยู่ตรงไหน

ข้อเสนอแบบมีฉันไม่มีเธอของน้ำฝน คือ มีจุดลงบู้ทที่ไม่ชนกัน
ทำให้มีเงื่อนไขตัวแปรระหว่างพื้นที่ที่ดี และพื้นที่ที่ดีที่สุดโดยที่ แม้ไม่ทราบว่าทั้งสองฝ่ายรู้หรือไม่
แถมการต่อรองเรื่องพื้นที่นี่ วัดๆมากๆ เพราะทั้งคู่เลือกเกม หัวก้อย และน้ำฝนได้

ปริมาณของคนที่เดินผ่านระหว่างถนนสองสายที่มาตัดกัน ถือว่าเป็นทำเลที่มีทราฟฟิกมากกว่าจุดรับ
แบบถนนด้านเดียว ดังนั้นไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ถ้ามีใครเคยไปนั่งประเมินปริมาณคนที่หมุนเวียน
จะรู้ว่าประมาณคนที่หลั่งไหลตามธรรมชาติ ณ จุดที่ถนนตัดยังไงก็มีมากกว่า(เคยนับแบบนี้ไหมครับ)
(สำหรับบางกรณี จะมีการเก็บข้อมูลกันในระดับทำเลพื้นที่ด้วย เพราะต้องประเมินผลความคุ้มค่าในการลงทุน)

ทำเลที่ตั้งจึงเพิ่มโอกาสการตลาด และเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของ 4Ps เสมอด้วยเหตุนี้

คะแนนนี้ให้ น้ำฝน กับ ดิว คนละแต้มได้เลยในฐานะที่รู้จักพื้นที่ แต่คงต้องให้แต้มบวก+1 กับน้ำฝน
ในฐานะที่ช่วงชิงทำเลที่ดีที่สุดมาให้กับทีมได้

จุดที่สอง ผมเห็นว่า การวางกลยุทธ์ด้านราคา Price ของทีมสอง ตีโจทย์มองข้ามพฤติกรรมการตอบรับ
ของพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายในเรื่องราคาไปนิด เพราะถึงจะเป็นไอเดียที่คิดได้ แต่สำหรับการแข่งขันแล้ว
เป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้กับตนเองในการแข่งขันอย่างมาก สำหรับพื้นที่ และพฤติกรรมของผู้บริโภคในหัวเมือง

ดังนั้น ทีมสอง ของน้ำฝน จึงทำแต้มบวก 1 แต้ม ในด้านการวางราคาที่สอดคล้องต่อการตัดสินใจของคนพื้นที่
ที่น่าสงสัย คือ ถ้ามีใครในทีม 1 ทักท้วงเรื่องนี้บ้างน่าจะดีครับ (หรือมีแต่ไม่ได้ลงก็ไม่รู้)
เพราะการใช้ราคาสูงกว่าราคาปกตินั้นเป็นกลยุทธ์ที่จะมีผลลบมากกว่าบวก

จุดที่สาม คือ กลยุทธในการใช้ Promotion ซึ่งจะเห็นได้ว่า
กลยุทธ์การจัดการของทีมน้ำฝน เลือกใช้ทีมงานเข้ามาทำหน้าที่หลายๆด้าน ทั้งพริตตี้ ทีมแด๊นท์ ทีมขาย
โดยบุคลากรหลักของทีมทำหน้าที่เดินเกม คนที่เหลือต่างประเมินสถานการณ์คิดช่องทางกลยุทธ
และลงภารกิจในด้านที่ตัวเองมั่นใจ แม้ว่าจะเห็นชัดว่าไม่เป็นทีมมากนัก
แต่ก็จัดได้ว่าเป็นทีมที่เอาความสามารถมาใช้ร่วมกันได้ดี การจัดการจึงมีระบบทำให้เกิดความได้เปรียบขึ้น
ความหลากหลายของกลยุทธ์ เกม โปรโมชั่นที่ใช้สลับกัน และปริมาณคนที่รองรับการขายที่เยอะกว่า

ส่วนทีม 1 ทุ่มบุคลากรหลักลงไปในภารกิจมากกว่า และบุคลากรในการขายที่นำมาใช้ประโยชน์ในการขาย
ในสัดส่วนที่น้อยกว่าจึงเกิดข้อได้เปรียบเสียเปรียบโดยที่ไม่ทันสังเกต

จุดที่สี่เป็นเรื่องที่มองไม่เห็นในกล้อง แต่มองข้ามไม่ได้สำหรับเกมการตลาดก็คือ คอนเนคชั่น
ในบ้านเรา ใครรู้จักคนมากกว่า กว้างขวางกว่า ถือว่ามีส่วนสำคัญยิ่งในการเดินเกมการตลาดครับ
รวมถึงการตลาดทุกที่ สายสัมพันธ์จึงเป็นเรื่องที่ธุรกิจให้ความสำคัญอย่างมาก

สายสัมพันธ์ที่มีนั้นถ้าเปรียบเทียบแบบเบาๆแล้ว ระหว่าง ทีม 2 ที่มีน้ำฝนเจ้าถิ่นที่เคยอยู่เชียงใหม่
แล้วยังบวก ดีเจ ที่เคยดูแลงานพืชสวนโลกในเชียงใหม่ แล้ว เมื่อเทียบกับดิวที่เรียนจบ มช.มาหลายปี
ยังมีระยะห่าง และระดับคอนเนคชั่นในจังหวัดที่แตกต่างกันพอสมควรระหว่างสองทีม
ในระดับเนื้องานแล้ว ย่อมทำให้ได้เปรียบบ้าง แต่ผลรวมทั้งหมดเพราะการบ้านของทีม 2 รวมทั้งหมดเป็นตัวส่ง

รายละเอียดที่น่าสนใจก็คือ ใครเป็นคนคิดกลยุทธด้านโปรโมชั่นบ้าง น่าเสียดายที่กล้อง ภาพและการเล่าเรื่อง
ไม่ได้บอกเล่าให้เรารู้จักไอเดียความคิดของแต่ละคน นอกจากภาพรวมกว้างๆที่ไม่มีรายละเอียดมากนัก
ถ้าได้เห็นมากขึ้นก็คงจะดี

ที่น่าชมเชย คือ ไอเดียประยุกต์ใช้แป้งกับสงกรานต์ การนำเสนอเทรนในการใช้แป้งสินค้าในงานสงกรานต์
ที่จริงสามารถขยายผลได้อย่างน่าสนใจและเปิดช่องทางการตลาดได้ช่องทางใหญ่ทีเดียว
ลองคิดถึงการเล่นสงกรานต์ที่นิยมเอาสินค้าไปใช้ในการเล่นสงกรานต์แทนผลิตภัณฑ์เดิมๆ
ถ้าเป็น เขต พื้นที่ เป็นจังหวัด เป็นความนิยมที่ลงตัวขึ้นมาเมื่อไหร่ และการตอกย้ำไอเดียเอาแป้งมาใช้ได้ผล
น่าสนใจว่าเทรนนี้จะสร้างยอดขายในเทศกาลได้สักเท่าไหร่ทีเดียว

แต่แค่วันเดียว ไอเดียนี้ แค่นับว่าเป็นกลยุทธที่น่าเสียดายเท่านั้นเอง

ดิวโดดเด่นมากในภารกิจนี้ ส่วนหนึ่งผมว่าเขาขึ้นกล้อง มาดดี และดูเท่
ส่งผลให้จุ๋มดูเป็นธรรมชาติและเข้าตาคนดูมากขึ้น

ทีมสาวหัวฟู 3 คน น่าจะเข้าบัดดี้กันได้มากขึ้นในเกมนี้ด้วย
เพราะเห็นหน้า และต้องเข้าทีมกันตลอด แม้ผมจะสงสัยว่า
นักการตลาดจำเป็นต้องลงไปเล่นเองด้วยหรือ แต่อีกแง่
คิดอย่างเอ็นดู ก็คิดว่าประสบการณ์แบบนี้หาไม่ได้ง่ายนัก
มีโอกาสทำก็ทำไปเถอะ ไม่ใช่ว่าจะได้เล่นได้ทำกัน
น่าจะเป็น Memory และประสบการณ์ที่ดี

นุ้ยเข้าตาตั้งแต่เทปที่แล้ว ดูเรียบๆแต่เอาจริง
ส่วนเจนกล้องถ่ายภาพให้เห็นบทบาทในตอน PR ผ่านคลื่น
และในงาน ซึ่งที่ขาดไป คือ ความสดในการทำกิจกรรมจนเห็นได้ชัด
และนั่นอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เมื่อทีมต้องเลือกคนที่มีส่วนร่วมน้อยที่สุด

ส่วนตัวผมว่าน่าเสียดาย ถ้า เจน มีโอกาสได้แสดงความสามารถมากกว่านี้ก็จะดี

อย่างว่า สถานการณ์ และจังหวะ นี่แหละตัดสินชะตาของคน

สิงที่สำคัญเรื่องหนึ่ง ในเกมการตลาด ถ้าหากรายการมุ่งให้เห็นว่าเป็นเกมแล้ว
สิ่งที่จะต้องยอมรับก็คือกลไกการปกป้องตัวเองของแต่ละคน จะทำให้เกิดการเข้ากลุ่ม

กลุ่มหรือบัดดี้ที่เข้ากันได้ คุยถนัดที่จะให้ความร่วมมือกันได้สนิทใจ จะเป็นกลไกเฟดคนที่ไม่อยู่ในกลุ่มออกไปเรื่อยๆ
ซึ่งเราจะเห็นได้จากรายการเรียลลิตี้แบบไซไวเวอร์ และบิ้กบราเธอร์

การเข้ากลุ่ม มักสร้างความอุ่นใจและลดคนที่คิดจะโหวตตัวเองออกไปได้อย่างน้อยคนหนึ่ง
ซึ่งหมายถึงลดโอกาสที่จะถูกเสนอชื่อจากทีมลง

แน่นอนในเทป 2 เราก็จะเริ่มเห็นได้ชัดแล้วว่ากลไกข้อนี้กำลังทำงาน
และอยากให้ลองสังเกตกันต่อไป

ฝั่งทีม 2 จิ๊บและติกดูเข้าขากันดี รวมถึงบู๋ และดีเจ ซึ่งนั่นหมายถึงว่าน้ำฝน
อาจโดดเดี่ยวกว่าที่คิด และโจทย์สำคัญที่จะอยู่รอดในเกม คือการมีบทบาทในทีมมากพอ
จนทุกคนในทีมต้องยอมรับ

เกมนี้ฝ่ายชายดูเข้าขากันดีทีเดียวครับ เป็นเงื่อนไขที่ฝ่ายหญิงเสียเปรียบ
(แต่ตัวแปรอยู่ที่กรรมการ กำหนดทีมใหม่ได้ครับ)

ในขณะที่อีกฝั่งถ้าสังเกตว่าจุ๋มถูกเสนอชื่ออย่างเงียบๆยืนพื้นอยู่จากใครคนหนึ่ง
ก็น่าคิดว่าถ้ามีเสียงบวกเข้ามาเมื่อไหร่ จุ๋มอาจจะยืนแป้นถูกเสนอชื่อในครั้งต่อไปก็ได้

แต่อย่างไรก็ตามถ้าหากเทปที่สามจับทุกคนแยกทีมเสียใหม่ เราก็อาจจะได้เห็นการปรับเปลี่ยน
ของเกมอย่างน่าสนใจมากขึ้น เพราะนอกเหนือจากการตลาดที่เป็นโจทย์ในภารกิจแล้ว
ความสัมพันธ์ในเกมก็เป็นเรื่องหนึ่งที่ทำให้เกิดตัวแปร

เงื่อนไขสุดท้ายจะมาจบลงที่ความเห็นของกรรมการภาคสนาม และกรรมการตัดสิน

หากเราติดตามในแง่มุมนี้แล้ว ทั้งภารกิจการตลาด ที่ลุ้นกันสุดๆ
พร้อมๆการติดตามความสัมพันธ์ของแต่ละคนในแต่ละภารกิจ
ถ้าหากกล้องถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้ออกมาให้เราชมอย่างน่าติดตาม
คงเริ่มมีหลายคนเชียร์ และใจจดใจจ่อกับผู้เข้าแข่งขันบางคนแล้วล่ะครับ