เล่าขำๆนะครับ วันก่อนมีสายๆนึงโทรมาถามผมว่า
จะหาภาพตัวการ์ตูนญี่ปุ่นดื่มเบียร์อาซาฮีได้ที่ไหน

ที่จริงคำถามนี้เปิดประเด็นโจทย์ใหม่ๆให้ผมอย่างที่ไม่เคยคิดถึงมาก่อน
เพราะที่จริงแล้วเบียร์เป็นของคู่กันกับคนญี่ปุ่นอย่างนึง

และแน่นอนมันก็สะท้อนออกมาในการ์ตูนซึ่งถอดแบบมาจากสังคมญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน
คนแรกที่ผมนึกถึงก็คือ อ.อาดาจิ แต่รายนี้ ถ้าคนไม่เคยสังเกตจะไม่รู้ว่า
อ.อาดาจิ แกมักจะวาดเบียร์อะไรลงไปเสมอๆ

ซึ่งยุคต้นๆลองกลับไปค้นๆดูจะเห็นว่า ถ้ามีเบียร์ในเรื่องของ อ.อาดาจิเมื่อไหร่ มียี่ห้อเดียว
คือ ภาพเบียร์ที่เห็นก็จะเป็นเบียร์ที่มีตราดาวแดง หรือไฮเนเก้น เป็นประจำครับ

ชะรอยหรือว่าอาจารย์ท่านไหนชอบดื่มเบียร์อะไร ก็จะวาดภาพเบียร์ที่ชอบหรือปล่าวก็ไม่ทราบ

ในโดราเอมอนเอง ฉากที่คุณพ่อโนบิตะดื่มเบียร์ในตอนเลิกงาน มักจะเป็นฉากที่คุ้นตาบ่อยๆ

แต่ถ้าพูดถึงเบียร์อาซาฮีแล้ว

การ์ตูนเรื่องแรกที่ผมนึกถึงก็คือ จอมเกบลูส์ หรือ อย่างนี้สิบลูส์

เพราะดูเหมือนว่าจะเป็นการ์ตูนเรื่องแรกและเรื่องเดียวที่ใช้ตึกอาซาฮีเป็นฉาก

ในฉากสำคัญที่มาเอดะบุกไปถึงอาซาคุสะ ถิ่นของยาคุชิจิ ซึ่งเป็น 1 ใน 4 จตุรเทพ
และเป็นฉากคลาสสิคฉากนึงที่ตอนไปญี่ปุ่นยังอยากจะถ่ายรูปในมุมมองฉากเดียวกันมาเป็นที่ระลึกเลยครับ

มาเอดะ ไทซอน แห่งคิจิโยยิ จอมเกบลูส์ เล่ม 19 ฉากหลังตึกเบียร์อาซาฮี

มาเอดะ ไทซอน แห่งคิจิโยยิ จอมเกบลูส์ เล่ม 19 ฉากหลังตึกเบียร์อาซาฮี

ในการ์ตูนคลาสสิคมีไม่มากที่จะมีฉากดื่มเบียร์ในการ์ตูนระดับโชเนน
แต่มักจะอยู่ในระดับเซย์เนน หรือระดับผู้ใหญ่มากกว่า

เช่นใน ซิตี้ฮันเตอร์ ก็มีฉากที่ ซาเอบะ เรียว ดื่ม เบียร์อาซาฮี ด้วยเหมือนกันอยู่ภาพหนึ่งครับ

ซาเอบะ เรียว กับเบียร์อาซาฮี 229-230 No.21

ซาเอบะ เรียว กับเบียร์อาซาฮี 229-230 No.21

การติดตามร่องรอยความทรงจำกับการ์ตูนที่เราอ่านมันสนุกดีนะครับ เมื่อมีคำถาม คำคิดก็ไหลแล่น และเรื่องที่มีเบียร์อาซาฮีในการ์ตูนยุคคลาสสิคก็เป็นโจทย์ที่ท้าทายดี

เช่นภาพนี้ ให้ทายว่ามาจากเรื่องอะไร

ฺBlue blood by Haruto Umezawa No.8 S.74

ฺBlue blood by Haruto Umezawa No.8 S.74

นอกจากนั้นในการ์ตูนเรื่องโปรดอีกหลายเรื่องของผมก็มีเช่นกันครับ
(ทำไมคนอื่นหากันไม่เจอนะ)

GTO โอนิซึกะ lesson 53 No.7

GTO lesson 53 No.7

ขนาดเรื่อง GTO
โอนิซึกะ ครูโคตรเท่คนนึงที่ผมชอบจริงๆ ..555

ยังมีฉากฉากดื่มเบียร์อาซาฮีเลยครับ

ซึ่งสิ่งแตกต่างก็คือ  บ้านเราบางคนที่ไม่ได้อ่านการ์ตูน
อาจยังจะแยกการ์ตูนคนโต กับการ์ตูนเด็กไม่ออก

ที่จริงในบ้านเราน่าจะมี”ที่สำหรับการ์ตูนสำหรับคนโตๆ” ไปเลย
แล้วจำกัดการอ่านด้วยเรต และเข้มงวดกับการใช้เรตในการอ่านจริงๆ
ซึ่งมันจะทำให้แยกแยะกันได้อีกระดับหนึ่ง

เพราะสำหรับการ์ตูนญี่ปุ่น ไม่ใช่การ์ตูนสำหรับเด็กอย่างเดียวมานานแล้ว
และในญี่ปุ่นการแบ่งเรตเข้มงวดขนาดว่าถ้าคุณหน้าเด็กก็ต้องแสดงบัตรประชาชน
หรือแม้แต่นักท่องเที่ยวหน้าเด็กก็ต้องแสดงหลักฐานเช่นพาสปอร์ตให้ดูก่อน

นึกๆไปรายละเอียดเล็กๆในเรื่องแบบนี้ สะท้อนรสนิยม ความคิด ความสนใจของคนเขียนเหมือนกันนะครับ

อีกเรื่องนึงเป็นเกร็ดที่ถ้าไม่เล่าจะไม่รู้ก็คือ เมื่อก่อนนั้นเบียร์อาซาฮีก็เคยอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อมาก่อน และในยุคนั้น เบียร์อาซาฮีเอาตัวรอดได้สำเร็จด้วย Super dry ที่ถูกปากคนญี่ปุ่น จนเป็นที่ยอมรับและตีตลาด (ได้กินทันยุคนั้นพอดีตอนที่คุณแม่ให้ไปครั้งแรก)

ในฐานะที่การ์ตูนญี่ปุ่นที่เขียนขึ้นในแต่ละยุคเป็นตัวสะท้อนถึงรสนิยมของญี่ปุ่น
เราจึงเห็นเบียร์อาซาฮีในยุคคลาสสิคต้นๆ มาจนถึงปัจจุบัน เห็นเงาของญี่ปุ่น รสนิยม ฯลฯ
อยู่ในการ์ตูนที่เราอ่าน ซึ่งสะท้อนช่วงปีที่ก้าวสู่ความสำเร็จของอาซาฮีจนถึงปัจจุบันครับ

ขอบคุณสำหรับคนที่ตั้งคำถาม
และขอบคุณสำหรับคำถามในแง่มุมแปลกจนมีเรื่องมาเขียนเล่าในบลอกครับ