Vagabond วิถีแห่งลูกผู้ชายในยุคสมัยของญี่ปุ่น

ถ้าใครยังไม่เคยอ่าน มุซาชิ ฉบับท่าพระจันทร์แนะนำให้ไปหามาอ่าน
แล้วจะยิ่งได้อรรถรสครับ (เป็นผลงานของ อ.เอจิ โยชิคาวะ)

จากความไม่รู้สู่ความรู้ จากโมหะสู่ความเข้าใจ

มุซาชิ
ทาเคโซ คือ คนตัวเล็กๆ แห่งยุคสมัยแห่งการต่อสู้โดยใช้ดาบของญี่ปุ่น
เป็นที่รู้กันว่าวิชาดาบของมุซาชิ เกิดขึ้นจากการฝึกฝน
และการพยายามเรียนรู้ด้วยตนเอง
ด้วยจิตใจมุ่งค้นหาวิถีของดาบ

เรื่องราวของมุซาชิเริ่มต้นขึ้น
ในสมัยหลังจากมหาสงครามที่ทุ่งเซกิกาฮารา
การเปลี่ยนแปลงยุคสมัยหลังจาก ฮิเดโยชิ
สู่ยุคชิงอำนาจที่ตระกูลอิเอยาสึ ขึ้นครองประเทศสำเร็จ
(ขอละไม่เล่ารายละเอียดเพราะยาว)
หลังมหาสงครามครั้งนี้ไม่มีสงครามใหญ่ๆอีก และบรรดาทหารรับจ้างที่หลงเหลืออยู่
กลายเป็นโรนิน (Vagabond) ซามูไรชาวบ้านพเนจรไร้สังกัด ในขณะที่การตัดสินกันด้วยดาบยังคงเป็นวิถีแห่งนักสู้

มุซาชิเองก็เริ่มต้นจากการเป็นทหารชาวบ้าน
ที่เหลือรอดจากสงครามเช่นกัน
มุซาชิเริ่มต้นต่อสู้ตั้งแต่อายุ 13-29 ปี
รวมระยะเวลาแค่ 16 ปี
ชั่วเวลานั้น การเรียนรู้จาก ทาคุอัน มีอิทธิพลอย่างมาก

จากการพัฒนาการแบบดิบเถื่อน
กลายเป็นพัฒนาการที่มีกระบวนการสังเกต
จดจำ และทบทวน
(ทาคุอันเป็นนักบวชที่มีชื่อเสียงมากในยุคนั้นครับ)

การรู้จักสังเกต จดจำ
และนำประสบการณ์การต่อสู้ที่เรียนรู้มาพัฒนาตนเอง
คือคุณสมบัติเด่นของมุซาชิ
และกระบวนการนี้แหละ คือแก่นของเรื่อง
ที่ทำให้มุซาชิเป็นคนเหนือคน และให้นักดาบด้วยกันยอมรับ
ก่อนที่จะไม่มีใครมาต่อกรกับเขาอีก

หลังจากนั้น มุซาชิเก็บตัว และใช้ชีวิตส่วนใหญ่
กับการศึกษาคำตอบเรื่องอื่นๆ และได้นิพนธ์คัมภีร์ห้าห่วงอันลือลั่นขึ้นมา

เนื้อหาส่วนใหญ่เน้นในเรื่องของการเข้าใจลำดับที่จะต้องทำ
และรู้จักจังหวะของดาบ ถือเป็นกลยุทธที่ควรลองศึกษาดูครับ
ถ้าเราอยากรู้จักว่ามุซาชิคิดอะไร ก็ต้องไปอ่านงานที่เขาเขียนครับ

วัยหนุ่มของมุซาชิ

มุซาชิ ฉบับ ทาเคฮิโกะ อิโนอุเอะ
ละเมียดละไมกว่า ในแง่ของการเดินเรื่องด้วยภาพ
ที่ให้รสชาติของอารมณ์ มากกว่าในหนังสือ

จากชั่วเวลาของเด็กหนุ่มระห่ำ
คะนอง มุทะลุดุดัน ใช้อารมณ์ และทนงตัวสู่การเรียนรู้ที่ทำให้เขาสุขุม
และรู้จักจังหวะการต่อสู้

จาก ชินเม็ง ทาเคโซสู่ มิยาโมโต้ มุซาชิ
มีทั้งการต่อสู้ที่ตนเองเลือก

และไม่ได้เลือกทั้งตั้งตัวและไม่ได้ตั้งตัว
เพราะบางครั้งก็มากับการลอบสังหาร
รวมทั้งการต่อสู้
ที่ตนเองต้องตัดสินใจว่าจะหนี หรือเดินเสี่ยงเข้าหาความตาย

ทั้งที่เลี่ยงได้ อย่างการต่อสู้กับ
จำนวนคนมากมายถึง 70 คน
เพราะทางเลือกของตน คือ วิถีแห่งดาบ

พัฒนาการที่ได้จากการต่อสู้
อย่างถึงเลือดถึงชีวิต
เป็นการเรียนรู้จริง ในภาคสนาม
ที่ต้องเรียนรู้การมีสติ
และใช้จังหวะในการต่อสู้ให้รัดกุม

และคุ้มค่ามากที่สุด
เพื่อให้ตัวเองมีชีวิตรอด

ท่ามกลางลายเส้นที่พริ้วและรอยหมึก
ที่ปัดป่ายกลายเป็นภาพศิลปะ

ด้วยฝีมือ อิโนอุเอะ ช่วยขับเด่นบทต่อสู้

ที่มีต่อความตายอย่างทารุณ
กลับกลายเป็นงานศิลปะในการเล่าเรื่อง
ด้วยภาพที่น่าทึ่ง
(ถ้าเป็นฉากนี้ในหนัง อาจเป็นฉากที่เอน็จอนาถ
ฉากนึง ที่เต็มไปด้วยเลือด และการฆ่าฟัน)

ปัจจุบันในเรื่อง Vagabond
เดินมาถึงตอนที่มุซาชิผ่านช่วงเวลาของการต่อสู้กับคน 70 คน ของสำนักโยชิโอกะ
แต่นักอ่านที่ติดตาม ยังต้องอ่านต่อไป และได้รับอีกหลายแง่มุมการนำเสนอ
จนกว่าจะถึงตำนานในตำนาน ของการต่อสู้ระหว่างยอดนักดาบแห่งยุค


..

ระหว่าง มิยาโมโต้ มุซาชิ กับซาซากิ โคจิโร่
คนนี้ อ.อิโนอุเอะ เข้าใจสร้างคาแรคเตอร์ใหม่ที่แตกต่างดีจริงๆครับ

ชะรอยจะมีอิทธิพลมาจาก Real
เพราะตอนนี้ อ.แก กำลังสนับสนุนการถ่ายทอดเรื่องราวของคนพิการ
ให้มีบทบาทเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป)
และบทลงท้ายของชีวิตที่ อ.อิโนอุเอะ จะเลือกนำเสนอ

newyork illustration

แต่อย่างไรก็ตาม จากเนื้อเรื่องที่เดินเรื่องจาก ทาเคโซ สู่ มุซาชิ บ่งบอกอะไรในแง่ปรัชญาที่ได้จากการอ่านบ้าง
มุมนี้ เหมือนจะเป็นคำถามและไม่เป็นคำถาม

เรื่องราวของทาเคโซ บ่งบอกว่าคนรุ่นหนุ่มทุกคนควรเรียนรู้กระบวนการทบทวนตนเองเพื่อลับตัวเองให้คมยิ่งขึ้น
รวมทั้งเรียนรู้ความสุขุม ลุ่มลึกในการตัดสินใจ อย่างรู้จักจังหวะการต่อสู้ และกลยุทธ์ หรือเปล่า
อาจเป็นเรื่องของแต่ละคนที่อ่านเรื่อง Vagabond จะต้องตอบคำถามตัวเอง เพราะบางคนอาจสนใจแค่อ่านเพื่อบันเทิง
ก่อนที่จะกลับมาหยิบจับหาความหมายที่แทรกอยู่ในเรื่องนี้ก็ได้..
tale
สำหรับผมแล้ว
เรื่องของจากทาเคโซ สู่ การเป็นมุซาชิ สะท้อนการพัฒนาการของคน
แรกๆ ทาเคโซออก ดิบเถื่อน ระห่ำ และคะนอง กลับมาเป็นการใช้การต่อสู้ที่มีสติในปัจจุบัน
สะท้อนกระบวนการเรียนรู้อย่างมีสติ และความกระหายที่พัฒนาการตนเอง ให้กับคนอ่าน (ถ้าสนใจ)
ช่วยสะท้อนการค้นหาเป้าหมายที่แท้จริงของวัยหนุ่ม จากฝันดิบๆ กลายเป็นภาพจริงที่มีรายละเอียด
โดยการทบทวนและรู้จักถามไถ่ตนเองในทุกย่างก้าวที่ชีวิตดำเนินต่อไป
จากเป้าหมายเดิมๆ กลับมีรายละเอียด และความเข้าใจที่มากกว่า และปรากฏขึ้นจริง
ในชีวิต และวิถีที่เราเลือก

เราทุกคนต่างเป็นนักดาบในวิถีของเราเอง ถ้าหากมองถึงจิตใจที่กำลังไขว่คว้าของเราใช่ไหม..

บางทีผมก็อยากบอกแค่ว่า การอ่านการ์ตูนดีดีหลายๆเรื่อง มันก็มีคุณค่าต่อการเรียนรู้นะ
และการ์ตูนไม่ใช่เรื่องไร้สาระเสมอไป..

ใบหน้าในช่วงวัยแต่ละช่วง
อ.อิโนอุเอะ เขียนได้สื่อถึงแววตาที่สะท้อนความรู้สึกดีนะครับ
ที่จริงมันเป็นกระบวนการเรียนรู้
ของช่วงวัยหนุ่มของพวกเราทุกคนไม่ใช่หรือ
จากเด็กหนุ่มที่มีแต่ความเชื่อมั่น ค้นหา และมีความใฝ่ฝันสู่ช่วงเวลาที่เรียนรู้ด้วยประสบการณ์จริง
ซึ่งมีทั้งคนสนับสนุนส่งเสริม (แบบ ทาคุอัน)
และคนที่คอยซ้ำเติมไม่อยากให้ได้ดี (อย่างแม่ของ มาตาฮาชิ)
รวมทั้งคู่ต่อสู้ที่ทำให้ได้เรียนรู้ตนเองในขณะต่อสู้จนถึงวันเวลาที่สั่งสมประสบการณ์ รู้จักจังหวะลูกล่อลูกชน
มีสติ มีความสุขุมลุ่มลึก และฝีมือในการเผชิญหน้า
face



บางทีคนเราก็อ่อนไหว ต่อสิ่งล่อใจที่อยู่ตรงหน้า
มากกว่าเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ตอนแรก ในชีวิต ไม่ต่างกับมาตาฮาชิ หรอกครับ

อีกด้านหนึ่งของตัวละครคู่ขนานอย่างมาตาฮาชิ
บอกอะไรเราหรือเปล่า..ใช่แค่บอกถึงคนที่ไม่มีฝีมือ
หรือแค่คนที่ไม่เอาอ่าวหรือแท้ที่จริง มาตาฮาชิ ก็คือคนที่ได้แต่ฝัน
แต่ไปไม่ถึงเช่นที่ฝันหรือเปล่าสายพิณที่ขึงหย่อนเกินไป หรืออ่อนแอเกินไป ย่อมไม่สามารถให้เสียงที่ดีได้

สำหรับผม
ตัวละคร มาตาฮาชิ
จึงให้คำถามยอกย้อนมากมายกับเรา
ในแง่ปุถุชนธรรมดา ที่มักจะอ่อนแอ ยากกว่าที่จะเลือกเดินอย่างมุ่งมั่นจริงๆ
ในวิถีทางที่ตัวเองต้องการเลือก หรือคนที่ทำอะไรไม่คิดให้ดีเสียก่อน

เพราะแม้แต่โอซือ ซึ่งเคยอยู่ในสิทธิของตนเองแท้ๆ มาตาฮาชิก็ผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำเล่า
จนโอซือหลุดมือไปอย่างน่าเสียดาย

และต้องเสียใจ เสียดายภายหลัง

แต่ถึงกระนั้น อ.อิโนอุเอะ

ก็สะท้อนอีกด้านของมาตาฮาชิ นะครับ
นั่นคือการยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น และแฟร์พอที่จะรับผลสิ่งที่ตนเองได้กระทำผิดพลาด

วิจารณ์ Vagabondสิ่งสำคัญที่คนวัยหนุ่มอย่างเราควรมี
คือ คนที่โตกว่าอย่าง ทาคุอัน ครับ

ทาคุอันเป็นตัวแทนของผู้ใหญ่ที่โตกว่า มีวิสัยทัศน์กว่า
และรู้จักวิธีการตะล่อมกับเด็กห่ามๆอย่างเรา ให้เข้ารูปเข้ารอย

วันเวลาของวัยหนุ่มเป็นช่วงเวลาของอารมณ์ร้อน ดิบ และสัญชาติญาณที่เพิ่งตื่น
พร้อมที่จะทำสิ่งต่างๆมากมาย โดยไม่กลัวความผิดพลาด

แต่ถ้าได้คนที่สร้างหางเสือกับเราได้ พัฒนาการของเราจะไวมากขณะเดียวกัน

ในมุมกลับ ก็สะท้อนสู่กลุ่มผู้ใหญ่ด้วยเช่นกัน ว่าจะเลือกส่งเสริม และตะล่อมคนวัยหนุ่มอย่างไร
ให้มันฉลาดที่จะคิด อันจะได้เก็บไปใช้เป็นอาวุธติดตัว ในการพัฒนาการตัวเองตลอดชีวิต

ข้อคิดเพิ่มเติมอีกนิดก็คือ ถ้าหากโชคชะตาไม่พาคนแบบนี้มา เราก็ควรแสวงหาคนแบบนี้มาด้วยตัวเอง (หรือเปล่า)

ทุกเรื่อง
ถ้าไม่มีสีสันของดอกไม้งามอย่าง โอซือ (แม้จะไม่บ่อย แต่ก็สำคัญ)

เรื่องราวของ ทาเคโซ และมาตาฮาชิ
อาจไม่ได้ร้อยเรียงเป็นความสัมพันธ์ ที่แปลกแยกยากเข้าใจ
และซับซ้อน ก่อนที่จะคลี่คลายแบบที่คุณอ่านนี้ก็ได้จริงไหม

ว่าแต่ คิดไม่ถึงว่าพู่กันอันเดียว จะเอามาวาดผู้หญิงได้สวยอย่างนี้นะครับ

เอารูป อ.อิโนอุเอะ มาฝากด้วยแล้วกัน
เผื่อบางคนไม่รู้จักหน้าค่าตาคนเขียน

ภาพนี้ถ่ายที่ ที่ ร้าน Kinokuniya ที่ Bryant Park, New York ปีที่แล้วครับ
ได้รับเชิญไปวาดสดๆ เลย

เห็นลายเส้นแล้วนึกถึงคำถามบางคำถามว่า
และการ์ตูนไทยควรจะออกมาแบบไหนที่เป็นแบบไทยๆ

ผมว่าวาดให้สวยด้วยฝีมือก็พอแล้ว ลายเส้นคือตัวตนของคนเขียน จะไปติดกรอบอะไรมาก..แฮ่ม

ว่าแต่ สวยนิ..แค่สีดำสีเดียวบนพื้นขาว ให้มิติได้ขนาดนี้
ชอบงาน อ.แกจริงๆครับ เป็นหนึ่งในนักเขียนรุ่นใหม่ที่สุดยอดจริงๆ ในแง่มุมของศิลปะ