อาทิตย์เกมกลยุทธออกจะลุ้นผลได้ง่ายครับ
เนื่องจากค่อนข้างทราบจุดแข็งของแต่ละคน แต่ละทีมอยู่แล้ว
เรื่องดีดีที่น่าพูดถึง คือ ทั้งสองทีม
น่าชมเชยในเรื่องของศักยภาพการคิดในระยะเวลาสั้นๆ ครับ
โจทย์ค่อนข้างยาก
ยิ่งถ้าเป็นมืออาชีพ ยิ่งคิดมากกว่าผู้เข้าแข่งขันอีก
ยิ่งรู้เยอะยิ่งคิดช้าครับ เพราะผลจะต้องให้มันใช่ด้วย
การที่ทีม 1 คิดโดยใช้ Sex appeal ไม่ใช่เรื่องใหม่นะครับ
เป็นสูตรสำเร็จที่เล่นได้ดี ถ้าเลือกจังหวะเล่นที่เหมาะสม
Sex appeal กับกลุ่มเป้าหมายของ A aspace เลือกเล่นดีดี
ไปได้ง่าย แม้จะติตรงที่คิดไปเล่นกับคนกลางคืนที่สุ่มเสี่ยงต่อการสร้างภาพลักษณ์
ว่า A space เป็นคอนโดสำหรับคนกลางคืน (ละไว้ในฐานที่เข้าใจ)
แต่ถ้าปิดจุดนี้ไปแล้วปรับหน่อย ผมว่าเล่นได้น่าสนใจทีเดียว
ส่วนทีม 2 การเลือกเล่นกับคำว่า ชักว่าว และ ตกเบ็ด นั้น
ที่จริงสุ่มเสี่ยงต่อการวิพากษ์เพราะเป็นคำที่ชี้นำเชิงลบมากกว่าบวก (แวบแรก)
ในทัศนคติของคนทั่วๆไป แต่ขณะเดียวกันถ้าถอยลงมาเล่นกับคำว่าทะเล้น
จะได้บรรยากาศการนำเสนอกว่า
เพราะที่จริงแล้ว ระหว่างคำว่า ทะเล้น ทะลึ่ง กับ ลามก
มันมีความชัดเจนมากพอตามลำดับภาษา
ถามว่าเล่นกับคำว่าทะเล้น เล่นได้ไหม
ผมบอกได้เลยว่าตามลักษณะกลุ่มเป้าหมายของ A space
ทำไมจะเล่นไม่ได้ เพียงแต่ต้องมือถึง
ทะเล้น ไม่ใช่ทะลึ่ง และไม่ใช่ลามก
ต้องแยกแยะให้ออกเท่านั้นเอง
สมมุติว่าถ้านำเสนอในลักษณะของคนที่กำลังอารมณ์ดี ออกทะเล้นนิดๆ
สื่อคนที่อยู่คอนโดนี้สุขภาพจิตดี เลยอารมณ์ดี เลยมีอารมณ์ขันแบบทะเล้นๆ
ทำไมจะทำไม่ได้
ภาพแบบนี้สื่อถึงการที่คนอยู่คอนโดนี้ อยู่แล้วมีความสุข อารมณ์ดี
อารมณ์ทะเล้นหน่อยๆ เกิดขึ้นได้เฉพาะเวลาที่เราอารมณ์ดีครึ้มอกครึ้มใจ
ทะเล้น เป็น sign ที่สื่อถึงกลุ่มเป้าหมายได้น่าสนใจครับ ถ้าเริ่มต้นในแง่มุมนี้
แต่ถามว่าจากลักษณะการคิดทั้งสองทีม ผมมองอย่างไร
ในทีม 1 ผมให้แต้มต่อ สำหรับ เอก เพราะว่ามีพื้นฐานในแง่ครีเอทีฟที่ดี
ซึ่งเป็นจุดแข็งมากพอที่จะเลือกคิดและเล่นได้หลากหลาย
และจากหลายๆเทปที่ผ่านมา ก็ช่วยตอกย้ำ
จุดเด่นข้อนี้ครับ
ในทีม 2 ผมถือว่าพื้นฐานการคิดแน่น
แต่ทีม 2 เสียเปรียบอย่างสิ้นเชิงในแง่ครีเอทีฟ
เพราะถึงจะจับทางได้ แต่การจะนำมาตบให้ลงตัวนั้น
มันไม่ง่าย (ถึงมีฝ่ายโฆษณาและฝ่ายการตลาดไงครับ)
ประเมินแบบนี้แล้วเหมือนจะทายได้ง่าย
สำหรับอาทิตย์นี้ว่าทีมไหนจะแพ้หรือชนะ
เพราะโจทย์ครีเอทแบบนี้ไม่ได้อยู่ที่จำนวนคน
เรียกได้ว่าเอามาแข่งกันอีกในเทปต่อไปเมื่อไหร่
ก็รู้สึกได้ถึงความได้เปรียบเสียเปรียบทันที
(แต่อนุโลม เพราะอาทิตย์ที่แล้วก็ไม่ใช่สายที่ทีม 1 ถนัด)
เลยทำให้ทายคนออกได้เลยในใจอยู่แล้ว (เหมือนอาทิตย์ที่แล้ว)
เพราะรู้อยู่แล้วว่าใครไม่ถนัดด้านนี้มากที่สุดในทีมที่แพ้
เนื่องจากเป็นเกมเรียลลิตี้ ก็ต้องมีคนออกอาทิตย์ละ 1 คนครับ
เป็นไปตามระบบของเกม เพราะเกมมันต้องมีคนออก
ถ้าเราเข้าใจว่า Just a game มันก็จะดูสนุก
ก็หวังว่าโจทย์จะยิ่งเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ครับ
และไม่มีความได้เปรียบเสียเปรียบกันที่ชัดเจนนัก
ในเทปถัดๆไป (มองอย่างเป็นกลางนะครับ)
ยิ่งทำได้ดี ทีมงานผู้ผลิต และกรรมการก็จะได้รับคำชม
ถึงฝีมือคิด และการวางแผน รวมถึงการตัดต่อนำเสนอ
อย่าไปมัวคิดว่าทำได้เท่านี้ก็ดีแค่ไหนแล้ว
เพราะคนดูที่เขาติดตามก็อดใจรอชมอยู่
ไฮไลท์ที่น่าทึ่งของอาทิตย์นี้ คือภาพประชุมสายของทีม 2 ครับ
การที่สามารถถ่ายภาพแบบนี้ได้ บอกได้หลายแบบ คือ
ทางทีมงานมีทีมประกบแบบ 1 ทีมต่อ 1 คน
หรือมีทีมงาน 7 ทีม ประกบผู้เข้าแข่งขัน ทั้ง 7 คน
(แบบอื่นๆซึ่งขอละไว้ในฐานที่เข้าใจนะครับ)
ผมชอบมองโลกในแง่ดี ก็เลยขอมองแบบแรก
เพราะรู้สึกอึ้งและทึ่งที่ทีมงานแบ่งทีมตามถ่าย
ผู้เข้าแข่งขันได้ขนาดนี้ (ดีนะครับ)
น่าจะได้ภาพและรายละเอียดมากๆ
โดยเฉพาะจุดเด่นที่ความสามารถของแต่ละคน
วิธีคิดของแต่ละคน การนำเสนอ การสรุปผล
เจาะถ่ายมาได้เยอะเลยทีเดียว
น่าเสียเทปที่ผ่านมาไม่ได้ช่วยบอกว่า
แต่ละคนในทีม 1 และทีม 2 มีส่วนร่วมในการคิดอย่างไร
แถมการตัดต่อเรื่องของทีม 1 ออกจะไปเน้นเชิงปั้นปึ่งเรียลลิตี้
ส่วนทีม 2 ก็ เน้นเรื่องการประชุมสาย (มีเหตุผลอยู่บ้าง)
แต่ก็ทำให้ความเข้มข้นของการแข่งขัน และธีมของเทปนี้แกว่งๆไปนิด
เพราะจุดในการนำเสนออาทิตย์นี้ดูไม่กลมกลืน
อาจเพราะมีส่วนของการช่วย PR ทางอ้อม
ให้กับ A space (ซึ่งผมคงจะแกล้งปิดตาข้างนึง)
ที่คงจะไม่พูดถึง แต่พอเรียงร้อยกันทั้งหมดแล้ว
เทปนี้ กลับรู้สึกโดดๆกับการตัดสินของกรรมการ
เพราะมันข้ามไปถึงฝั่ง A space แล้วกลับมา
ยังการตัดสินของกรรมการ (กระมัง)
ผมยังงงๆ เล็กน้อยกับการเสนอชื่อ
เพราะอาทิตย์นี้มีเสนอชื่อ 3 ท่าน
คะแนนเท่ากัน 2 คน คือ พีค กับเพรม
และหวาน 2 คะแนน
แต่ก็เข้าใจว่าเป็นสิทธิของกรรมการ
ก็ปล่อยผ่านครับ เพราะตามที่ดูๆอยู่
ทั้งหวาน เพรม และนิ้น นั้น
ถ้าเปรียบมวยกับ 4 คนที่เหลือ
แล้วเสียเปรียบค่อนข้างมาก
ต้องทำการบ้านเยอะขึ้น
ช่วงเวลาตัดสินต่อหน้ากรรมการนั้น
เป็นจุดที่ทั้ง 3 คน ค่อนข้างเสียเปรียบครับ
จังหวะนั้นทักษะการตอบคำถามก็เป็นเหตุผลหนึ่ง
ถ้าตอบแล้วใช่ กรรมการเองก็ยากที่จะมองข้ามไป
โดยเหตุผลการใช้ทักษะต่อหน้ากรรมการตัดสินแล้ว
พีค น่าจะลอยลำไปถึง 4 คนสุดท้าย
พร้อมๆ กับ แคนดี้ ต้นอ้อ และเอก
ได้ไม่ยากนัก ถ้าไม่มีเหตุการณ์หักมุม
แบบในเทปตี้อีก
สิ่งที่อยากบอกอีกเรื่องหนึ่ง
คือ การตัดต่อมีผลชี้นำคนดูมากครับ
โดยเฉพาะเรียลลิตี้ที่คนดูไม่ได้ดูเรียลไทม์
คนดูเห็นเท่าที่คนตัดต่ออยากให้ดู
แต่สิ่งที่คนตัดต่อนำเสนออาจลืมคิดก็คือ
คนดูอาจไม่รู้สึกเหมือนที่คนตัดต่อนำเสนอเสมอไป
นี่เป็นเรื่องยากที่จะอธิบาย แต่รู้สึกได้
ถ้าหากภาพที่นำเสนอยังไม่ตอบคำถามของคนดู
โดยเฉพาะแง่มุมที่ควรนำเสนอของ “ทีม”
การตัดต่อที่สื่อถึงลำดับความเข้าใจตามขั้นตอนการตลาด
จะมีประโยชน์กับคนดูมากๆ โดยปกติข้อจำกัดของรายการ
คือต้องเล่าเรื่องทั้งหมดใน 1 ชั่วโมง ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย
แต่ถ้าหักเทปแรกที่ย้อนไปเล่าทบทวนเรื่องอาทิตย์ก่อนๆแล้ว
น่าจะเบาแรงตัดลงไปหน่อย ซึ่งทำให้คาดหวังมากขึ้น
กับการเล่าเรื่องที่เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ
ตามลำดับของสัปดาห์
ที่ใกล้จะเห็นผู้ชนะครับ