นั่งสองจิตสองใจอยู่สองนาน
ว่าจะปันใจมาเชียร์เกมกลยุทธดีหรือเปล่า
แต่รายการโปรดเรายังไม่ถึงเวลามา…555
น้องๆก็บอกว่าโหมโรงกันได้ที่ยัง อยากให้อ่านเกมเล่าเกมหน่อย
มีแล้วมันเพิ่มรสชาติให้ดุมันขึ้น
ก็เอาเป็นว่านับจากอาทิตย์นี้คงจะได้อ่านเต็มตาต่อจากนี้ครับ
ไม่ได้สัญญาแต่ก็จะเล่าเท่าที่อยากเขียน
ออกตัว 4 เรื่องก่อน ไม่งั้นคุยไม่มัน
ดูๆไป(แบบไม่คาดหวังนะ) อ้อ (ห้ามเปรียบเทียบด้วย)
อะไรที่อยู่ใน memory เอามันออกไป
แล้วดูเหมือนมันคือรายการใหม่รายการหนึ่ง
ตัดพวกนี้ออกไป โดยเฉพาะความคาดหวังสูงๆ
ที่อยากเห็นนั่นอยากเห็นนี่สนองอีโก้ตัวเอง…555
ผมเองตัดหมดที่รกหัว แล้วดูสบายๆ
พอดูแบบนี้ เออก็ใช้ได้นะ
อย่างน้อยก็เป็นการเรื่มต้นครั้งแรกในเมืองไทย
คิดงี้แล้วก็ดูสนุก
อาทิตย์นี้ กรรมการ ฉลาดใช้เกมคัดคนเป็นตัวช่วยเร่งปฎิกริยา
การเลือกทีละคนแล้วเหลือคนสุดท้าย มีผลทางจิตวิทยาอย่างหนึ่ง
นี่สำหรับพวกคนคิดมาก หรือคิดเล็กคิดน้อย มีผลสูง
เรียกได้ว่าเป็นลางบอกล่วงหน้าว่าจะตกรอบได้
เพราะเพื่อนในทีมให้ความสำคัญน้อยที่สุด
(น่าสงสาร โหดครับ แต่นี่แหละรสชาติของแรงกดดัน)
แรงกดดันแบบนี้ ในชีวิตคุณ
ถ้าเฉยๆ นิ่งๆแล้วผ่านไปได้ก็แปลว่าแกร่งพอตัวครับ
แต่ดูเหมือนคนที่ถูกเลือกคนสุดท้ายทั้งสองคน
ไม่น่าจะเคยเจอแรงกดดันแบบนี้ เห็นได้ชัดว่าออกอาการทั้งคู่
ทั้งโทมัส และ นิ้น
ผมเชื่อว่าคงไม่เคยเจอแรงกดดันแบบนี้มาก่อน
ที่จริงถ้าผ่านไปได้ผมว่า สำหรับ ทั้งคู่
คือโอกาสที่จะพิสูจน์ว่าเขาแกร่งพอที่จะเผชิญแรงกดดันได้ดี
คือ มันสื่อถึงว่าคุณทำงานภายใต้แรงกดดันได้
แกร่งพอที่จะยืนหยัดในสถานการณ์ที่ไม่เป็นใจได้
มันเป็นมุมกลับที่แสดงถึงคุณสมบัติของคนในสายการตลาดอย่างยิ่งยวด
เพราะคนสายการตลาดย่อมรุ้ว่า
ชีวิตการตลาดไม่มีอะไร perfect และมันโคตรบีบหัวใจเลย
ในเวลาที่อะไรๆไม่เป็นใจ และไม่เข้าทางตัวเอง
โจทย์แบบนี้ไม่ใช่ข้อเสียเสมอไปครับ
มันก็คือวิกฤตที่คุณจะพิสูจน์ศักยภาพตัวเอง
ซึ่งจะกลายเป็นโอกาสเกิด ถ้าคุณเคลียร์ผ่านไปได้
ยิ่งผ่านไปได้ดีแค่ไหน ยิ่งเด่นครับ
เพราะ คู่นี้ทำงานภายใต้แรงกดดันที่สูงกว่าเพื่อน
อย่าถอดใจเป็นใช้ได้ นักการตลาดที่เก่งๆ
แม้โอกาสน้อยและอยุ่ในสถานการณ์เป็นรองมากๆ
ไม่เคยมีใครยกธงขาวกันหรอก
มีแต่จะยิ่งนิ่งและรักษาจังหวะเพื่อหาโอกาสให้กับตัวเอง
ถ้าไม่ใช่คนทำเกม
ก็ต้องรู้จักพยายามประคองโอกาสให้ตัวเองผ่านไปได้ จนกว่าจะมีจังหวะ
เรียกได้ว่าต้องอึดครับ ต้องรู้จักอึดเพื่อรอหาโอกาสให้ตัวเอง
แต่น่าเสียดายครับ
โดยเฉพาะโทมัสนี่ ออกอาการเป๋ง่ายๆ แบบน่าเสียดาย
เรียกได้ว่าพอเจอแรงกดดันแบบนี้
แทนที่จะแก้ไขปัญหาภายใต้แรงกดดันได้
เสียศูนย์ไปเลย น้องนิ้นก็เหมือนกัน
โจทย์เที่ยวนี้ด้านนึงจึงวัดคน
ที่จะทำงานภายใต้แรงกดดันได้
และน่าเสียดายจริงๆครับ
สนามการตลาดเวลาโหดๆนั้น
กดดันคนรับผิดชอบมากกว่านี้ไม่รู้กี่เท่าครับ
ขอแสดงความเสียดายแทน โทมัสด้วย สัปดาห์นี้
บทเรียนเรื่องนี้คงจะสอนให้เห็นความสำคัญของการแยกแยะอารมณ์กับหน้าที่
ในเวลาที่ทำภารกิจได้มากขึ้นครับ
nuch
การคัดเลือกสมาชิกในทีมของสัปดาห์ที่ 4 เนี่ย ทำให้นึกถึงสมัยเด็กๆ เวลาที่จะเล่นอะไรที่จะต้องแบ่งทีม แล้วแต่ละทีมก็จะเลือกทีละคน
คนที่ถูกเลือกคนแรกๆ มักจะเป็นคนที่มีความโดดเด่น ทั้งในเรื่องความสามารถ และความ Popular ในกลุ่ม
ส่วนคนที่ถูกเลือกเป็นคนสุดท้าย หรือ.. ถ้าแย่หน่อยถ้าจำนวนทั้งหมดหารแล้วเหลือเศษ .. คนที่เป็นเศษ ก็จะถูกเรียกว่าตัวแถม …
ในความเป็นเด็ก เวลาที่ถูกเลือกเป็นคนสุดท้าย หรือเวลาที่เป็นตัวแถม จะรู้สึกว่า ตัวเองเป็นผู้แพ้ ผู้อ่อนแอ ไม่ได้รับการยอมรับจากกลุ่ม น้อยอกน้อยใจสารพัด…
และตรงนี้เอง ที่ทำให้โทมัส ดูเด็กเหลือเกินในสัปดาห์ที่ 4
คนอ่อนแอ จะคร่ำครวญกับอดีต.. แต่คนแข็งแกร่งจะลุกขึ้นสร้างอนาคต..
ที่จริง สิ่งที่โทมัสควรจะทำคือ พิสูจน์ตัวเองว่า ตัวเองมีความสามารถที่ไม่ยิ่งหย่อนกว่าใคร ทำให้เพื่อนร่วมทีมไม่ผิดหวังในการที่มีเขาเป็นสมาชิกในทีม และทำให้ทีมที่ไม่เลือกเขารู้สึกเสียดายตัวเขา..
แต่น่าเสียดาย.. ที่โทมัสไม่สามารถทำใจผ่านจุดนี้ได้…และสิ่งที่เขาทำกับอดีตเพื่อนร่วมทีมเท่ากับเป็นการตอกย้ำให้เพื่อนร่วมทีมรู้สึกว่าพวกเขาคิดถูกที่ไม่เอาคนแบบนี้เข้ามาร่วมทีมด้วย..
ที่จริง ถ้าจะมองว่าโทมัสไม่ได้มีเจตนาจะตุกติก อาจจะแค่คิดถึงเพื่อนจริงๆ โทมัสก็ยังผิดอยู่ดีในแง่ของมารยาททางสังคม… เขาอาจจะลืมส่งซีดีให้ทีมที่ 1 ก็เลยไปส่งถึงห้อง แต่การที่เข้าห้องไปแล้วจะหยิบเอกสาร ขอดูงาน และอยู่ฟังด้วยทั้งๆ ที่ไม่ได้อยู่ในทีมนั้นแล้ว แถมยังอยู่ในทีมที่เป็นคู่แข่งอีก มันแปร่งๆ นะ มันเหมือนกับอาศัยความเป็นเพื่อนเก่ามาสร้างความได้เปรียบให้กับตัว … ดูแล้วเหมือนพยายามเล่นนอกกติกา.. ทำให้เกิดข้อสงสัยในระดับจริยธรรมและมโนธรรมของคนคนนี้ และตามมาด้วยคำถามที่ว่า คนคนนี้เป็นบุคคลที่สมควรจะร่วมงานด้วยในการอนาคตไหม?