ความเป็นมาของโศลกบทนี้ของท่านเว่ยล่าง(เว่ยหล่าง) สำหรับผมมีความหมายยิ่งครับ
การแต่งกลอนสะท้อนความเข้าใจในธรรม

ไม่มีต้นโพธิ์
ทั้งไม่มีกระจกเงาอันใสสะอาด
เมื่อทุกสิ่งว่างเปล่าแล้ว
ฝุ่นจะลงจับกับอะไร

บทที่ผมอ่านแปลคล้ายๆกันนี้แต่ไม่ว่าจะแปลอย่างไร
ถ้าความหมายตรงวัตถุประสงค์แล้วก็น่าจะถือว่าใช้ได้

ผมมักเปรียบโศลกของเว่ยหล่างที่ว่า

ไม่มีต้นโพธิ์
ทั้งไม่มีกระจกเงาอันใสสะอาด
เมื่อทุกสิ่งว่างเปล่าแล้ว
ฝุ่นจะลงจับกับอะไร นั้น

ว่าตรงกับบทสวด ทำวัตร เช้า ที่ชื่อ สังเวคะปะริกิตตะนะปาฐะ ความว่า

อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต, มะยันตัง ธัมมัง สุตวา เอวัง ชานามะ, ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง, โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา, อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง, สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา, เสยยะถีทัง, รูปูปาทานักขันโธ, เวทะนูปาทานักขันโธ, สัญญูปาทานักขันโธ, สังขารูปาทานักขันโธ, วิญญาณูปาทานักขันโธ, เยสัง ปะริญญายะ, ธะระมาโน โส ภะคะวา, เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ, เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตตะติ,

” รูปัง อะนิจจัง, เวทะนา อะนิจจา, สัญญา อะนิจจา, สังขารา อะนิจจา, วิญญาณัง อะนิจจา, รูปัง อะนัตตา, เวทะนา อนัตตา, สัญญา อะนัตตา, สังขารา อะนัตตา, วิญญาณัง อะนัตตา, สัพเพ สังขารา อะนิจจา, สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ, ”

เต มะยัง โอติณณามะหะ ชาติยา ชะรามะระเณนะ, โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ, ทุกโขติณณา ทุกขะปะเรตา, อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ, จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ อะระหันตัง สัมมาสัมพุทธัง,สัทธา อะคารัสมา อะนะคาริยัง ปัพพะชิตา, ตัสมิง ภะคะวะติ พรัหมะจะริยัง จะรามะ, ภิกขูนัง สิกขาสาชีวะสะมาปันนา, ตังโน พรัหมะจะริยัง อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตูติฯ

ต่อไปนี้เป็นคำแปลของ “สังเวคะปะริกิตตะนะปาฐะ”

พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลกนี้ เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง และพระธรรมที่ทรงแสดง เป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์ เป็นเครื่องสงบกิเลส เป็นไปเพื่อปรินิพพาน เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม เป็นธรรมที่พระสุคตประกาศ พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว จึงได้รู้อย่างนี้ว่า:- แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ แม้ความตายก็เป็นทุกข์ แม้ความโศกความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์ ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์ มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นนั่นก็เป็นทุกข์ ว่าโดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ:-ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือรูป ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือเวทนา ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือสัญญา ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือสังขาร ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือวิญญาณ เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์เหล่านี้เอง จึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่ ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลายเช่นนี้เป็นส่วนมาก อนึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลายส่วนมาก มีส่วนในการจำแนกอย่างนี้ว่า:-

“รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง รูปไม่ใช่ตัวตน เวทนาไม่ใช่ตัวตน สัญญาไม่ใช่ตัวตน สังขารไม่ใช่ตัวตน วิญญาณไม่ใช่ตัวตน สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวตนดังนี้”

พวกเราทั้งหลายเป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว โดยความเกิด โดยความแก่ และความตาย โดยความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจทั้งหลาย เป็นผู้ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้ว เป็นผู้มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว ทำไฉนการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏชัดแก่เราได้? เราทั้งหลายผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปรินิพพานนานแล้วพระองค์นั้นเป็นสรณะ ถึงพระธรรมด้วย ถึงพระสงฆ์ด้วย จักทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นตามสติกำลัง ขอให้ความปฏิบัตินั้นๆของเราทั้งหลาย จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นเทอญ

ดังนั้น โศลกของเว่ยหล่างที่ว่า

ไม่มีต้นโพธิ์
ทั้งไม่มีกระจกเงาอันใสสะอาด
เมื่อทุกสิ่งว่างเปล่าแล้ว
ฝุ่นจะลงจับกับอะไร

จึงตรงกับ สังเวคะปะริกิตตะนะปาฐะ วรรคที่ว่า

“รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง รูปไม่ใช่ตัวตน เวทนาไม่ใช่ตัวตน สัญญาไม่ใช่ตัวตน สังขารไม่ใช่ตัวตน วิญญาณไม่ใช่ตัวตน สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวตนดังนี้”

ธรรมะที่แท้จริงมีอยู่แล้วในคำสอนพระพุทธเจ้า ความเข้าใจนั้นแม้เป็นปัจเจกถ่ายทอดแก่สงฆ์
แต่ร่องรอยความเข้าใจนั้นสืบสานต่อรอยได้ เป็นปริศนาธรรม

กายนี้มิใช่ของเรา กาย-เวทนา-จิต-ธรรม
กายนี้ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง ไม่มีตน : ทุกขัง-อนิจจัง-อนัตตา

ที่จริงแล้วสำหรับผม ในฐานะผู้คุ้ยเคยกวี
อยากจะต่อโศลกท่อนนี้ของท่านเว่ยล่างจาก

ไม่มีต้นโพธิ์
ทั้งไม่มีกระจกเงาอันใสสะอาด
เมื่อทุกสิ่งว่างเปล่าแล้ว
ฝุ่นจะลงจับกับอะไร

เป็น

“ไม่มีต้นโพธิ์
ไม่มีกระจกเงาใส
เมื่อทุกอย่างว่างเปล่าแล้ว
ก็ไม่มีอะไรแม้แต่ฝุ่นละออง”

ลองพิจารณากันดูตามภูมิธรรมของท่านครับ
โบราณว่าสนทนาธรรมย่อมทำให้รู้จักภูมิธรรมซึ่งกันและกัน

หากวาสนาจะเป็นกัลยาณมิตรต่อกันไปในภายภาคหน้า ก็ถือว่ามีโอกาสเกื้อกูลธรรมกัน
ยากนักที่จะหาผู้มีภูมิธรรมเสมอหรือใกล้เคียง คุยแลกเปลี่ยนกันได้

ยินดีครับ
ผมชอบสนทนาเกี่ยวกับเซนนะ
ชัดเจน สั้น และเรียบง่ายดีครับ