ที่มา::สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
http://www.ipst.ac.th/ThaiVersion/publications/in_sci/glacier.html

ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นแล้วจากภาวะโลกร้อน
สิ่งที่มักทำให้เราไม่ค่อยแน่ใจว่าโลกเรากำลังประสบปัญหาโลกร้อนเข้าขั้นวิกฤต ก็เพราะมีบทความทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยจากฝ่ายที่ออกมาเตือนและฝ่ายที่เสียประโยชน์จากการที่จะเกิดการรณงค์ลดการสร้างปัญหาโลกร้อน

สิ่งที่ดีที่สุดคือการรวบรวมความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา เพื่อเป็นการให้ข้อมูลเพื่อทราบ และพิจารณาด้วยตัวคุณเองครับ

  1. ในบริเวณเขตร้อนของประเทศออสเตรเลียเกิดความแห้งแล้งอย่างหนักมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน จนเกิดไฟป่าเป็นบริเวณกว้าง ปริมาณน้ำฝนไม่พอเพียงวัดได้เพียง 400-600 มิลลิเมตร (16-20 นิ้ว) ในช่วงปี 2540-2541
  2. ในปาปัวนิวกีนี มีผู้เสียชีวิตกว่า 1,000 คน และอีก 700,000 คนต้องเผชิญกับความอดอยากและโรคภัยไข้เจ็บ ที่องค์การสหประชาชาติระบุว่าคือโรคไทฟอยด์ ท้องร่วง และมาเลเรีย
  3. ในภาคใต้ของแอฟริกาตะวันตก (Southern Part of West Africa) ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปีปกติตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ไม่มีฝนตกในช่วงปี 2525-2526
  4. ที่แอฟริกาใต้ พบว่าการเริ่มต้นฤดูฝนเกิดช้ากว่าปกติ
  5. แอฟริกาตะวันออก ในช่วงแรกของเดือนพฤศจิกายน ด้านบริเวณชายฝั่งจะมีฝนชุกเกินกว่าปีปกติ และปริมาณฝนตกสูงกว่าปีปกติ
  6. ในยุโรปตอนกลาง (Central Europe) การก่อตัวของเฮอริเคนและพายุหมุนเขตร้อน (Tropical Storm and Hurricane Activity) หลังเดือนกรกฎาคมบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกเกือบจะไม่มีพายุหมุนเขตร้อนและเฮอริเคนเลย แต่กลับต้องเผชิญคลื่นความร้อนแทน โดยใน​ช่วงฤดูร้อนปี​ 2549 ​ที่ผ่านมาทวีปยุ​โรปดู​เหมือน​จะ​ร้อนระอุ​เป็น​พิ​เศษ​ ​สืบ​เนื่อง​จาก​ต้อง​ประสบ​กับ​สภาวะคลื่น​ความ​ร้อนที่ปกคลุมทวีปยุ​โรป​ ​เหมือนครั้งที่​เกิดขึ้น​แล้ว​ใน​ปี​ ​พ​.​ศ​. 2546 ​ซึ่ง​ทำ​ให้​มีจำ​นวน​ผู้​เสียชีวิตรวม​ทั่ว​ทั้ง​ทวีปยุ​โรปสูง​ถึง​ประมาณ​ 50,000 ​คน​ (ฝรั่งเศสประมาณ​15,000 ​คน​ ​และ​อิตาลี​ ​ประมาณ​ 20,000 ​คน) ​ซึ่ง​ส่วน​ใหญ่​มักเกิด​ใน​ผู้​สูงอายุ นอก​จาก​นี้​ใน​ประ​เทศกรีซ​ ​อิตาลี​ ​และ​บัลแกเรีย​ ​หลายพื้นที่มีอุณหภูมิสูงกว่า​ 43 ​องศา​เซลเซียส​ ​และ​ต้อง​เผชิญ​กับ​ไฟป่าที่​เป็น​ผล​จาก​คลื่น​ความ​ร้อน​เป็น​วงกว้าง​ ​โดย​ที่​เกาะ​เอเวีย​ใน​กรีซ​ ​เครื่องบินบรรทุกน้ำ​ดับเพลิงประสบอุบัติ​เหตุตก​ ​นักบิน​และ​ผู้​ช่วย​บนเครื่องบิน​ ​เสียชีวิต​ทั้ง​คู่ ส่วน​ใน​อังกฤษ​ ​ระดับน้ำ​ป่าที่​ไหลบ่า​เข้า​ท่วมพื้นที่​เป็น​วงกว้าง​ใน​ภาคกลาง​และ​ภาคตะวันตก​ ​ใน​เหตุอุทกภัยรุนแรงที่สุด​ใน​รอบ​ 60 ​ปี​ ​ยัง​สร้าง​ความ​เดือดร้อน​ให้​บ้านเรือนมากกว่า​ 3.5 ​แสนหลังคา​เรือน​ ​ที่​ยัง​ขาดแคลนน้ำ​ใช้​ ​และ​อีก​ 5 ​หมื่นหลังคา​เรือน​ ​ไม่​มีกระ​แสไฟฟ้า
  7. ในอเมริกา มีความแตกต่างกันไปในแต่ละภาคเนื่องจากเป็นทวีปใหญ่ โดยด้านตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศมีส่วนช่วยปะทะพายุเฮอริเคนให้เบาบางลง ในภาคเหนือมีอิทธิพลให้อากาศแห้งแล้งและหนาวน้อยลง ขณะที่ในแคลิฟอร์เนียและอ่าวเม็กซิโกมีฝนตกหนักและน้ำท่วมสร้างความเสียหายอย่างหนัก ที่รุนแรงที่สุดก็คือ พายุระดับ 5 อย่าง เฮอร์ริเคนแคทริน่า และริต้าในอเมริกา
  8. อเมริกาตอนกลาง (Central America) เกิดสภาพความแห้งแล้งผิดปกติในเดือนกรกฏาคม-ตุลาคม
    ล่าสุด เหตุพายุโซนร้อน Stan ที่พัดเข้าหลายประเทศในอเมริกากลาง (ได้แก่ เอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส เม็กซิโก คอสตาริกา และนิการากัว) และเกิดเหตุแผ่นดินถล่มในอเมริกากลาง (BBC, 6/10/2005)
    http://www.exim.go.th/info/risk_main.asp?country=Central+America
  9. พายุเฮอร์ริเคน Wilma ที่พัดเข้าแถบอเมริกากลางทำให้เกิดโคลนถล่มในเฮติ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 10 คน และเกิดฝนตกหนักในฮอนดูรัสและนิการากัว ทั้งนี้ พายุเฮอร์ริเคน Wilma กำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่งของสหรัฐฯ บริเวณอ่าวเม็กซิโก (Reuters, BBC, ผู้จัดการออนไลน์, 18-19/10/2005) กัวเตมาลาและคอนตาริกา รัฐบาลกัวเตมาลาประกาศว่าผลผลิตข้าวโพด ถั่ว กาแฟ จะเสียหายราวร้อยละ 40-50 ขณะที่คอสตาริกาผลผลิตข้าวสูญเสียร้อยละ 25 และกาแฟซิมีร้อยละ 40
  10. อเมริกาใต้ (South America) สภาพความแห้งแล้งขยายตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปจนถึงชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกา พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคกลางและภาคใต้มีความชุ่มชื้นกว่าปีปกติในเดือนมิถุนายน-ตุลาคม
  11. ชิลี เกิดน้ำท่วมใหญ่เมื่อเดือนมิถุนายนของหลายปีก่อน นับเป็นความรุนแรงที่ใหญ่สุดในรอบ 10 ปี มีผู้เสียชีวิต 17 รายและได้ที่ทำกินอีก 60,000 คน ขณะที่ในเมืองหลวงซานดิเอโกนั้น ปริมาณน้ำฝนในเดือนเดียวกว่า 300 มิลลิเมตรมากกว่าปริมาณน้ำฝนปกติของทั้งปีที่เคยวัดได้ เช่นเดียวกับทางตอนเหนือเขตทะเลทรายที่ปริมาณน้ำฝนเดือนเดียวที่วัดได้มากกว่าปริมาณน้ำฝนตามปกติในระยะ 30 ปี
  12. เปรู ซึ่งรับผลกระทบเมื่อปี 1982-1983 ประชาชนกว่า 100 คนเสียชีวิตจากน้ำท่วมแผ่นดินถล่มและอีกนับหมื่นไร้ที่อยู่อาศัย เศรษฐกิจชาติเสียหายและถดถอยร้อยละ 12 และในปี 2007 ​แผ่นดินไหวที่​เกิดขึ้น​ใน​หลายพื้นที่​ใน​เปรู​เมื่อช่วงเดือนสิงหาคม ​ในช่วงคืนวันพุธ​ 15 ​ส​.​ค​. ​ตามเวลาท้องถิ่น​ ​หรือ​ช่วง​เช้า​วัน​ ​พฤหัสบดี​ 16 ​ส​.​ค​. ​ตามเวลาประ​เทศไทย​ ​ยอด​ผู้​เสียชีวิตพุ่ง​ถึง​แล้ว​กว่า​ 510 ​ศพ​ ​บาดเจ็บมากกว่า​ 2,000 ​คน​ ​ถือ​เป็น​หนึ่ง​ใน​ภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งร้ายแรงที่สุด​ใน​รอบ​ 100 ​ปี​ ​ของเปรู​ ​โดย​ ​สำ​นักงานสำ​รวจธรณีวิทยาของสหรัฐฯ​ (ยู​เอสจี​เอส) ​ได้​ปรับระดับ​ความ​รุนแรงของแผ่นดินไหว​จาก​ 7.9 ​เป็น​ 8.0 ​ตามมาตราขนาดโมเมนต์​ ​ซึ่ง​ถือ​เป็น​ระดับที่รุนแรงมาก​และ​เกิดขึ้น​ได้​ยากหายนภัยทางธรรมชาติครั้งร้ายแรงที่สุดของเปรู​ใน​รอบ
  13. โคลัมเบีย อัตราการเกิดโรคมาเลเรียเพิ่มขึ้น ในช่วงปี 1972-1973, 1982-1983, 1986-1987 และ 1992-1993 และในปี 2007 ​ภู​เขา​ไฟเนวา​โด​ ​เดล​ ​ฮุยลา​ ​ซึ่ง​ตั้ง​อยู่​ห่าง​จาก​ทางตะวันตกเฉียง​ใต้​ของกรุงโบโกตาของโคลัมเบีย​ ​ซึ่ง​มีการประทุมาตั้งแต่​เดือนมีนาคม​ ​เกิดระ​เบิดขึ้น​ 2 ​ครั้ง​ ​เมื่อวานนี้​ ​และ​ยัง​ส่งผล​ให้​เกิดโคลนถล่ม​และ​อุทกภัยตามมา​ ​สร้าง​ความ​เสียหาย​ให้​กับ​บ้านเรือนประชาชน​ ​รวม​ทั้ง​ถนนหนทาง​ ​และ​สะพานอีกหลายแห่ง​ ​ทำ​ให้​ประชาชนนับพันคน​ต้อง​อพยพออกนอกพื้นที่​ ​เบื้องต้น​ยัง​ไม่​มีรายงาน​ผู้​ได้​รับบาดเจ็บ​หรือ​เสียชีวิต
    ขณะที่​ผู้​เชี่ยวชาญเชื่อว่าภู​เขา​ไฟลูกนี้อาจ​จะ​เกิดระ​เบิดขึ้นอีก​ ​ซึ่ง​ทางกองทัพโคลัมเบีย​ได้​ส่งเฮลิคอปเตอร์บินสำ​รวจพื้นที่​โดย​รอบที่​ได้​รับผลกระทบ​จาก​เหตุ​โคลนถล่ม​และ​อุทกภัย​แล้ว​ ​สำ​หรับภู​เขา​ไฟเนวา​โด​ ​เดล​ ​ฮุยลา​ ​เป็น​ภู​เขา​ไฟสูง​เป็น​อันดับที่​ 3 ​ของโคลัมเบีย​ ​ซึ่ง​มีหิมะปกคลุมยอด​เขา​ตลอด​ทั้ง​ปี​ ​และ​ครั้งนี้นับ​เป็น​การระ​เบิดครั้งแรก​ใน​รอบ​ 500 ​ปี
  14. อเมริกาเหนือ (North America) ผลกระทบรุนแรงที่สุดในช่วงฤดูหนาวและช่วงก่อนฤดูใบไม้ผลิ เกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิผิวน้ำทะเลขึ้นเร็วกว่าปกติ ส่งผลให้การดำรงชีวิตของสัตว์ทะเล (Marine Species) จากบริเวณคาบสมุทร Baja จนถึงบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกผิดไปจากเดิม
  15. เอกวาดอร์ เคยประสบความเสียหายกว่า 640 ล้านเหรียญจากเอลนิโญ ในระหว่างปี 1982-1983
  16. ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตัวอย่างภาวะโลกร้อนที่ชัดเจนที่สุดคือ ไฟไหม้ป่าในอินโดนีเซีย ที่กินเวลานานกว่า 3 เดือน เสียหายกว่า 4 ล้านไร่ ขณะที่การดับไฟก็เป็นไปได้ยาก และความหวังจากน้ำฝนที่ควรจะเกิดขึ้นในเดือนสิงหาคมก็เป็นไปไม่ได้เพราะสาเหตุจากเอลนิโญ ความเสียหายครั้งนี้ใช่แต่ทำลายระบบนิเวศน์พืชและสัตว์ป่าเท่านั้น หากแต่ฝุ่นควันที่หนาแน่นค่อนปีเกินระดับอันตราย ยังส่งผลให้รายได้จากการท่องเที่ยวของประเทศในเขตเพื่อนบ้านอินโดนีเซีย โดยเฉพาะมาเลเซียต้องสูญหายไปด้วย