จั่วหัวตอน 2 ไว้อย่างนี้เลย..ว่า
“ผู้ใหญ่นั่นแหละที่ต้องปรับตัว”
ข้อสรุปจากการสังเกตของผมบอกได้ว่า..
ปฏิกริยาของเด็กนั้นเป็นผลมาจากการกระทำของผู้ใหญ่ทั้งนั้นแหละ..
อาการของเขาเป็นเพียงกระจกสะท้อนของพฤติกรรมผู้ใหญ่ที่ีอิทธิพลต่อตัวเค้าต่างหาก..
ลูกของเรามีปฏิกริยาอะไรตอนไหนบ้าง..
คำตอบอยู่ใกล้แค่เื้อื้อม คือ แค่มีเวลาใส่ใจที่จะสังเกตเขาจริงๆ
ผู้ใหญ่หลายคนไม่มีเวลา..(เขาบอกอย่างนั้น)
ผมนึกในใจ..แล้วทำไมถึงให้เขาเกิดมาล่ะเฟ้ย..ถ้าไม่พร้อม
ที่จริงเราพร้อมนั่นแหละแต่อย่างที่ผมบอก..
ความเคยชินของเราเองก่อนที่จะมีเค้านั่นแหละตัวดี..
เวลาพักผ่อนที่เราทำไปกับอย่างอื่น..และเราก็เคยชินที่จะทำอย่างนั้น
บางคนมีเวลาดูทีวี..
บางคนมีเวลาเมาท์กะเพื่อนข้างบ้าน..
บางคนยังมีงานอดิเรกสุดโปรด..
บางคนยังมีเวลากะวงเหล้าก๊วนประจำกับพรรคพวก..
บางคนยังมีเวลาไปตีกอลฟ์..
ผมเองยังมีเวลาเล่นเน็ต…555
พวกนี้ถ้ายังมีเวลาทำอย่างอื่นทำนองนี้..
ผมบอกได้คำเดียวเลยว่า..อย่ามาพูดเลยว่าไม่มีเวลา..
คุณไม่ให้เวลากะลูกต่างหาก..
ปันมาสักหน่อย..เพื่อลูกเหอะ..
(นี่ว่าตัวเองด้วย..555 ผมเองก็มีส่วนเหมือนกันนะ)
สมัยเด็กๆ ผมเคยนึกนะและยังจำละเอียดถึงตอนนี้..
(ใครว่าเราจำความทรงจำสมัยเด็กไม่ได้ ถ้าอยากจะจำและตั้งใจจำ)
ผมมีเรื่องคาใจกับผู้ใหญ่เยอะ..
และบอกตัวเองตลอดว่า..มีสักวันจะระบายความคาใจพวกนี้ออกมาบ้าง..555
มุมที่เด็กคิด กับมุมผู้ใหญ่ที่ตัวเองจะต้องเติบโต
ผมตั้งใจจะไม่ลืมมุมมองที่ตัวเองมี..
และจะต้องไม่เป็นผู้ใหญ่ประเภทที่ตัวเองคาใจ..
วกเข้าเรื่องกันดีกว่าครับ..
ผมสรุปที่มาของปฏิกริยาตาป่านได้หลักๆดังนี้ (เด็กต่างคนก็ต่างเหตุผลออกไปนะครับ)
1.นายป่านมีปฏิกริยากับอาการผู้ใหญ่เห่อน้องแบบเว่อร์
อันนี้เป็นปฏิกริยาที่ก่อให้เกิดความรู้สึกเปรียบเทียบได้มากสำหรับเด็ก
เพราะเกิดความรู้สึกเปรียบเทียบได้ชัด Contrast กันเห็นๆ
ความสนใจทีู่้ผู้ใหญ่มี ทำให้เขารู้สึกได้ชัดเกินไปว่ามีน้อยลง
ข้อนี้..ผมแก้ง่ายๆ
เวลาเห่อหลานคนเล็กให้ไปเห่ออีกห้อง..แฮ่ม
คือมันห้ามไม่ได้ไง..คนจะเห่อหลานคนใหม่เนี่ย..
แต่อย่าให้เกิดการเปรียบเทียบในใจเด็ก
ไ่ม่งั้นมันก็เป็นเรื่องธรรมดาที่เขาจะมีปฏิกริยา
ไม่ว่าจะพยายามทำตัวเรียกร้องความสนใจมากขึ้น
(ซึ่งผู้ใหญ่หลายคนจะมองข้าม และมีปฏิกริยากลับเข้าไปอีก)
หรือถ้าเลี่ยงไม่ได้..
ในเวลาแบบนั้นผมจะไม่ปล่อยให้เขานั่งอยู่คนเดียว
เรียกได้ว่าถ้ามีใครมาสนใจน้อง
พร้อมๆกันนั้นผมก็จะสนใจเค้า..เล่นกับเค้า
สิ่งสำคัญต้องไม่ให้เกิดความรู้สึกเปรียบเทียบครับ..
และถ้าเติมให้เขาได้รับความรู้สึกจากเราเต็ม ประเดี๋ยวเขาก็จะเผื่อแผ่มาให้น้องเขาเอง..
ซึ่งจริงๆได้ผล..
ตอนแรกๆที่เวลามีใครเห่อน้องแล้วทิ้งให้เขานั่งมองอยู่คนเดียว
กับหลังๆที่เวลาน้องได้เขาก็ได้รับไปพร้อมๆกัน
ความรู้สึก สายตา และปฏิกริยาดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
และปฏิกริยาที่มีต่อน้องก็เริ่มเป็นไปตามธรรมชาติของเด็กที่มีน้อง
คือเขากลับสนใจน้องมากขึ้น..
ในเวลาที่เขาเรียกร้องความสนใจ และได้รับการตอบสนอง
เขาก็เต็ม..(งานนี้ต้องแทคทีมครับพ่อแม่ต้องรู้งานและผลัดกันพอสมควร)
คือเด็กน่ะเขาไม่ได้มีอะไรหรอก..
เขาแค่อยากรู้ว่าเขายังเป็นที่รักของผู้ใหญ่อยู่มั้ย..
ซึ่งปฏิกริยาการแสดงออกนั้นมันเจือความรู้สึกเรียกร้องความสนใจมาก
และเด็กเขา็ก็ไม่รู้หรอกครับว่าวิธีไหนเหมาะ..
มันขึ้นอยู่กับปฏิกริยาต่อไปของผู้ใหญ่ด้วยว่าเข้าใจเ็ด็กแค่ไหน
มองข้าม หรือละเลยความรู้สึกของเขาหรือเปล่า
ถ้าเราไม่ละเลยความรู้สึกของเขา เขาก็เต็มพอ
ถ้าเผลอละเลย เขาก็แสดงออก
การแสดงออกของเด็กเป็นปฏิกริยาสะท้อนของพฤติกรรมผู้ใหญ่
ถ้าเราใส่ใจปฏิกริยานั้น ปัญหาจะไม่บานปลายเลย
และไม่ต้องมาตามแก้ทีหลัง
หลังๆนายป่านไม่เคยมีปฏิกริยา เมื่อมีใครอุ้มน้อง
เพราะทุกครั้งที่มีผู้ใหญ่คนอื่นอุ้มน้อง เขาก็จะโดนฟัดจากผม
หรือมีอ้อมกอดอุ่นๆของคุณแม่
หรือถ้าคุณแม่อุ้มน้อง ผมก็จะเล่นกับเขา
และถ้าผมอุ้มน้อง คุณแม่ก็จะไปเล่นกับเขา
สรุป ผู้ใหญ่เหนื่อยมากขึ้นหน่อยครับ เวลาพักจะน้อยลง
ไม่เหมอนตอนคนเดียว ผลัดกันได้
นี่ต้องสลับมือแทค..
เวลาที่พัก คือเวลาที่ลูกคนใดคนหนึ่งหลับ หรือหลับทั้งสองคน
แต่นั่นก็คือสิ่งที่คนเป็นพ่อเป็นแม่ต้องทำ
(ไม่งั้นจะให้เกิดมาทำไมสองคน..แฮ่ม)
2.คุณแม่ต้องให้เวลาน้องมากขึ้น และต้องพักฟื้นกว่าจะฟื้นตัว ทำให้มีเวลาให้เขาน้อยลง
แต่ที่สำคัญ คือ เผลอเหนื่อยจนเผลอละเลยในเวลาที่เขา”ต้องการ”
ข้อนี้มีความสำคัญมาก เพราะว่าเมื่อก่อนเขาเคยได้รับแบบเต็ม(จนล้น)
ทีนี้พอพร่องลงไป มันจะรู้สึกได้ง่าย แต่แก้ไม่ยากครับ
คุณพ่อต้องเป็นทัพเสริมเข้าไปอีกหน่อยเท่านั้นเอง
เพราะที่สำคัญมากที่สุดสำหรับเด็กก็คือพ่อกับแม่นี่แหละครับ
จุดสำคัญ ผมเน้นที่คนรู้เรื่องก่อน..
คือคนโต เพราะถ้านายป่านเต็ม
แทนที่มันจะต้องเป็น หนึ่งต่อหนึ่ง พ่อดูคน แม่ดูคน
มันจะกลายเป็น 3 ต่อหนึ่ง
คือนายป่านมาช่วยดูน้องด้วยอีกคน
(แต่ก็ตามประสาเด็กนะครับ)
จุดนี้ผมได้ข้อสังเกตจากวันหนึ่งที่ไปคลีนิค
มีพ่อแม่ลูก สี่คนมานั่ง
ลูกคนโตอยากให้แม่อุ้ม แต่แม่อุ้มน้องอยู่
แม่เลยให้พ่ออุ้ม พ่อก็อุ้ม
แต่ปฏิิกริยาแสดงออกของคนโตไม่จบ
ดิ้นลงจะให้แม่อุ้มจนโดนตีจนได้
คนโตร้องไห ้สายตาที่มองแม่คล้ายนายป่านมาก
จนผมคิดอะไรได้อย่างหนึ่ง
คือถ้านายป่านอยากให้แม่อุ้ม ผมจะรับน้องเค้ามาแล้วให้คุณแม่อุ้มเขา
หรือถ้านายป่านอยากให้ผมอุ้ม ผมก้จะส่งนายธณให้คุณแม่สลับกัน
เพราะอะไร..
เพราะว่านี่ไงครับ นี่คือเวลาที่เขาต้องการแม่ หรือพ่อ
แค่อุ้มแล้วกอดอุ่นๆเขาก็เต็มแล้ว..
พักเดียวก็ไปวิ่งเล่นหัวเราะร่าเริงได้อย่างสดใส
นี่แค่ัจังหวะเล็กๆนะครับ..
เรื่องนิดๆที่ผู้ใหญ่อย่างเรามองข้ามได้ง่าย
แต่ยิ่งใหญ่ในความรู้สึกเด็กสุดๆ..
(ก็เวลานี้ เขาต้องการแม่นี่นา หรือเขาต้องการพ่อนี่นา)
ให้ก็เต็ม ไม่ให้ก็ขาดเป็นเรื่องธรรมดา..
และมันใช่ความผิดเขาซะเมื่อไหร่ที่เขาจะเรียกร้อง
และ 2 หลักใหญ่ก็มีแค่จุดร่วมเดียวคือ ความเข้าใจของผู้ใหญ่
และตระหนักที่จะละเอียดอ่อนต่อความรู้สึกเด็กเท่านั้นเอง
ถ้าเราให้ในเวลาที่เขาต้องการเรา..
(ไม่ใช่เวลาที่เรานึกจะให้เขา)
มันก็เติมเต็มในเวลาที่เหมาะสมกับความรู้สึก
(แหม…ขนาดเรา เวลา need เราเองก็ยังอยากให้ใครมาเติมเราในเวลานั้นเลย)
นี่เป็นภาพหลังจากการปรับจูนใหม่ครับ
นายป่านยกเครื่อง ไม่จิตตก อีกแล้ว…
แถมรักน้องสุดๆ
ตอนหน้าผมจะมาเล่าว่า
ทำไงให้เขาปรับตัวกับการเป็นพี่คนไปพร้อมๆกันด้วย
และรักน้องแบบนี้ครับ
ทำไงให้นายป่านกับน้องธณเค้าผูกพันกันตั้งแต่เด็ก..
นี่โจทย์สำคัญอีกข้อของผมเลยนะ…แฮ่ม
(มาต่อตอน 3 แล้วกันนะ..ยาวอ่ะ..555)