เป็นเรื่องของพี่ออ ครับ
เรื่องอันเป็นที่มาของ user name..ใช่แล้ว..stamp

ตราไปรษณียากร ได้แก่ ดวงตราไปรษณียากร รอยประทับจากเครื่องประทับไปรษณียากร ดวงตราไปรษณียากรที่พิมพ์บนไปรษณียบัตร หรือจดหมายไปรษณีย์อากาศ

จากรูป แสตมป์ชุด ๓๐๐ ปี สัมพันธภาพไทย-ฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๒๒๘-๒๕๒๘
(ซ้าย) ราชทูตไทยถวายพระราชสาสน์แด่พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔
(ขวา) ราชทูตฝรั่งเศส ถวายพระราชสาสน์แด่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ดวงตราไปรษณียากร หรือที่เรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า ” แสตมป์” นั้น นอกจากจะใช้ผนึกบนซอง จดหมาย บนห่อ หรือซองไปรษณียภัณฑ์ และ พัสดุไปรษณีย์แล้ว ยังเป็นที่นิยมสะสม กันอย่างแพร่หลาย

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำรัสไว้ในคำนำหนังสือ ตำนานไปรษณีย์ไทยพ.ศ. ๒๓๗๙-๒๔๘๖ ของนาย อาณัฐชัย รัตตกุล ว่า “ผู้ใหญ่มักจะ สนับสนุนให้เด็กๆสะสมแสตมป์ เพราะจะ ช่วยให้เด็กเป็นคนประณีต รู้จักความ เป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม แสตมป์ที่ สะสมจากต่างประเทศทำให้รู้จักชื่อ ประเทศต่างๆ นอกจากนั้นภาพที่พิมพ์อยู่ บนแสตมป์ยังให้ความรู้รอบตัวอีก หลายด้าน”

เมื่อการสะสมแสตมป์ เป็นงานอดิเรกอันมีประโยชน์และเป็น ที่น่าสนใจของคนทั้งโลก เราจึงควร ศึกษาวิวัฒนาการของแสตมป์ตั้งแต่ต้นกำเนิด จนถึงปัจจุบัน

แสตมป์ดวงแรกของโลก คือ แสตมป์แบล็คเพนนี ของประเทศอังกฤษ แต่ไม่มีชื่อประเทศ ออกใช้เมื่อวัน ที่ ๕ พฤษภาคมพ.ศ. ๒๓๘๓ ภาพสัญลักษณ์เป็น ภาพสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย พระราชินี ผู้ปกครองประเทศอังกฤษ มีราคาบนดวง หนึ่งเพนนี

แสตมป์ดวงแรกของไทย คือ แสตมป์โสฬศ ออกมาพร้อมกับแสตมป์ ราคาอัฐ เสี้ยว ซีก และสลึงหนึ่ง นับ เป็นแสตมป์ชุดแรกของไทย ออกใช้เป็น ทางการเมื่อวันที่ ๔ สิงหาคมพ.ศ. ๒๔๒๖ หลังจากอังกฤษออกแสตมป์ดวงแรก ๔๓ ปี แสตมป์นี้เป็นภาพสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว

แสตมป์ที่มีราคาสูงที่สุดในโลก คือ แสตมป์ ๑ เซ็นต์ สีม่วงแดงของประเทศ กายอานาอังกฤษ หรือปัจจุบันคือประเทศ กายอานา ออกใช้เมื่อพ.ศ. ๒๓๙๙ ราคาที่ประมูลกัน ณ นครนิวยอร์ก ประเทศ สหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนพฤษภาคมพ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นเงิน ๑ ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา หรือ ประมาณ ๒๓ ล้านบาท เมื่อคิดเทียบตามอัตรา การแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยขณะนั้น

แสตมป์ที่มีราคาสูงที่สุดของไทย คือ แสตมป์อีสต์อินเดีย ราคา ๒ แอนนา ซึ่งสเตรตส์เซตเทิลเมนตส์ ขอยืมมาใช้ โดยประทับแก้บนราคา ๒ แออนา เป็น ๓๒ เซ็นต์ แล้วไทยขอยืมมาประทับอักษร “B” (Bangkok) ซึ่งมาจากภาษาอังกฤษว่า Bangkok ( อ่านว่า แบงค็อก) หมายถึง กรุงเทพมหา นคร

แสตมป์นี้นำออกใช้ในพ.ศ. ๒๔๒๕ จำนวนเพียง ๒๐ ดวง ปัจจุบันคงเหลือเพียง ไม่กี่ดวง มีการประมูลซื้อขายครั้ง สุดท้ายที่นครนิวยอร์ก ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘ ราคา ๘,๒๕๐ เหรียญสหรัฐอเมริกา หรือ ประมาณ ๒๒๒,๐๐๐ บาท .

ที่มา: http://kanchanapisek.or.th

นอกจากเราจะนิยมสะสมดวงตรา ไปรษณียากร หรือแสตมป์ (stamp) แล้ว ยังมี ผู้นิยมสะสมรอยประทับบนแสตมป์ ไปรษณีย บัตร ตลอดจนจดหมายอากาศรุ่นต่าง ๆ ดัง นั้น นอกจากการสะสมแสตมป์ให้ครบ ชุด เราอาจจะสะสมและศึกษาตราไปรษณียากร ในรูปแบบต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบ เช่น

๑. สะสมแบบศึกษาเชิงประวัติไปรษณีย์ (postal history)
เป็นการสะสมเฉพาะแสตมป์ที่ใช้แล้ว เท่านั้น แสตมป์ที่นิยมสะสมนี้จะ เป็นแสตมป์ที่มีตราประทับที่สำคัญ บ่งบอกถึงความเป็นมาในอดีต เป็นแสตมป์ เดี่ยว หรือผนึกอยู่บนซองก็ได้ เช่น ตราประทับ KEDAH – ไทรบุรี ซึ่งแสดง ให้เห็นว่ารัฐไทรบุรีเคยอยู่ในการ ปกครองของไทย และซองผนึกแสตมป์เสต รตส์เซตเทิลเมนตส์ประทับ “B” แสดงให้เห็น ว่าในอดึตเราเคยขอยืมแสตมป์จาก สเตรตส์เซตเทิลเมนตส์ มาใช้ในการ ส่งจดหมายออกไปยังต่างประเทศ เป็นต้น

๒. สะสมเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง (thematics)
เป็นการสะสมเพื่อศึกษาถึงความเป็น มา ของการไปรษณีย์ของประเทศใดประเทศ หนึ่งแล้วผนึกบนซอง ไปรษณียบัตร และ จดหมายอากาศในชุดหรือเรื่องเดียวกัน เช่น ชุดภาพนก ปลา ผีเสื้อ สัตว์ ป่า รถ เรือ รถไฟ ดอกไม้ ผลไม้ การกีฬา ธงชาติ ลูกเสือ สัปดาห์สากล แห่งการเขียนจดหมาย บุคคลสำคัญ ศิลป วัตถุโบราณ และจิตรกรรม เป็นต้น

๓. สะสมเชิงตำนานไปรษณีย์ (traditional, classics)
เป็นการสะสมเพื่อการศึกษาถึงความ เป็นมาของการไปรษณีย์ของประเทศใด ประเทศหนึ่งโดยเฉพาะ อาจจะสะสมตั้งแต่ เริ่มมีการส่งจดหมายเข้า – ออกจาก ประเทศ มาจนถึงสมัยใดสมัยหนึ่ง เพื่อศึกษาวิวัฒนาการการไปรษณีย์ของประเทศ นั้น ๆ มาเป็นลำดับ ตามหลักสากลถือ ว่า การสะสมแสตมป์ในช่วงก่อนพ.ศ. ๒๔๑๘ นั้นเป็นการสะสมเชิงตำนานไปรษณีย์ที่ แท้จริง แต่ก็อนุโลมใช้กับการ สะสมแสตมป์ที่หายากที่ใช้หลังจาก ช่วงนั้นได้โดยปกติ การสะสมในเชิง ตำนานไปรษณีย์นี้ นิยมสะสมแสตมป์ที่ออก ตั้งแต่ระยะแรกของการไปรษณีย์ในแต่ ละประเทศ เรื่อยลงมาถึงระยะใดระยะ หนึ่ง ตัวอย่างเช่น ในการศึกษาความเป็น มาของการไปรษณีย์ไทย ก็จะ สะสมสิ่งที่ใช้แทนแสตมป์ในสมัยก่อน การใช้แสตมป์ที่แท้จริง มาจนถึง ระยะที่ขอยืมแสตมป์จากประเทศอื่นมา ใช้ และระยะที่มีแสตมป์ชุดแรกออก ใช้เองเป็นชุดที่ ๑ วิวัฒนาการเป็นชุด ที่ ๒ ชุดที่ ๓ เรื่อยมา เป็นต้น

๔. สะสมเฉพาะตราประทับบนแสตมป์ (postmark)
เป็นการสะสมเฉพาะตราประทับต่าง ๆ ของที่ทำการไปรษณีย์บนดวงแสตมป์ จะเป็นตราประทับในช่วงระยะเวลาปัจจุบัน หรือในอดีตก็ได้ ถ้าแสตมป์ที่มี ตราประทับที่หายากยังคงผนึกอยู่ บนซองก็ให้สะสมไว้ทั้งซอง ไม่ ควรแช่น้ำลอกแสตมป์ออกจากซอง ตัวอย่างการสะสมตราประทับนี้ ได้แก่ สะสมตราประทับประจำวันทุกที่ทำการ ไปรษณีย์ทั่วประเทศไทยในสมัยใดสมัย หนึ่ง สะสมตราประจำวันและตราประทับ พิเศษในงานแสดงนิทรรศการไปรษณีย์งานใด งานหนึ่ง เป็นต้น

๕. สะสมสิ่งจำหน่ายเพื่อการสะสม (postal stationary)
เป็นการสะสมไปรษณียบัตรรวมถึงกระดาษ ต่าง ๆ ที่มีตราไปรษณียากรพิมพ์ติด อยู่ใช้ส่งทางไปรษณีย์ได้ทันที โดย สะสมทสิ่งเหล่านี้ให้ครบในสมัยใด สมัยหนึ่ง หรือหลายประเทศในช่วงเวลา หนึ่ง ๆ ก็ได้ ปัจจุบันมีผู้สะสมไปรษณีย บัตรรุ่นแรกของทุกประเทศทั่วโลก และเคยได้รับรางวัลระดับสูงของโลก มาแล้ว
๖. สะสมจดหมายไปรษณีย์อากาศ และเรื่อง เกี่ยวกับการบิน (aerogram and aerophilately)

คำศัพท์เบื้องต้นเกี่ยวกับแสตมป์

ในวงการแสตมป์มีคำศัพท์เฉพาะ ที่ใช้กัน เช่นเดียวกับศาสตร์แขนงอื่น บางคำใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษโดยตรง บางคำมีศัพท์ที่ตั้งขึ้นเฉพาะเป็น ภาษาไทย นักสะสมควรทราบคำศัพท์เหล่า นี้ไว้เพื่อความเข้าใจในการศึกษา ตราไปรษณียากรต่อไป
ตัวอย่างคำศัพท์ เช่น
แอดฮีซิฟ (adhesive)
คือ ดวงตราไปรษณียากรหรือแสตมป์ที่ ใช้ปิดบนซองจดหมาย หรือห่อซองโดย ใช้กาวหรืออื่นๆ ไม่ใช่แสตมป์ที่พิมพ์ ติดมากับซอง หรือไปรษณียบัตร หรือ จดหมายไปรษณีย์อากาศ
ลายน้ำ (water mark)
คือ ลวดลายต่างๆบนกระดาษที่ใช้ พิมพ์แสตมป์ สังเกตได้จากด้านหลังของ แสตมป์
รอยปรุหรือรอยจักร (perforate)
คือ รอยปรุจุดไข่ปลา หรือรอย จักร หรือรอยปรุที่แยกแสตมป์ออกเป็น ดวงๆ เพื่อช่วยในการฉีกให้รวดเร็ว ยิ่งขึ้น
สิ่งจำหน่ายเพื่อการสะสม (postal stationary]
เป็นคำรวมที่ใช้เรียกกระดาษต่างๆ ที่มีตราไปรษณียากรพิมพ์ติด สามารถส่ง ทางไปรษณีย์ได้ทันที เช่น ไปรษณียบัตร ไปรษณียบรรณ (ซองจดหมายที่มีตราไปรษณียากร พิมพ์ติด) กระดาษห่อสิ่งตีพิมพ์และ จดหมายไปรษณีย์อากาศหรือแอโรแกรม ทั้ง นี้นับรวมถึงตราไปรษณียากรที่เป็น ดวงๆหรือแผ่นๆ
ตราประทับ (post mark)
เป็นตราประจำวันที่ปรากฏอยู่บน ซองจดหมาย โดยปกติจะระบุชื่อที่ทำ การไปรษณีย์ วัน เดือน ปี และเวลาที่ ประทับ

ประวัติการไปรษณีย์สากล

การติดต่อส่งข่าวสารระหว่างกันใน สมันแรก ประมาณสามพันปีก่อนคริสต์ศักราช นั้น คนทั่วไปใช้การจำข่าวสาร และบอกกันเป็นทอด ๆ ไปจนถึงผู้ รับข่าวสารนั้น (memorized messages) พระเจ้า แผ่นดินหรือเจ้าผู้ครองนคร มักจะ มีคนสื่อสารโดยเฉพาะ
ต่อมาเมื่อมีการประดิษฐ์ตัวอักษร ขึ้นเพื่อใช้แทนเสียงที่พูดจากัน การใช้ตัวอักษรเขียนข่าวสารติดต่อสื่อ สารกันก็เริ่มมีขึ้น ระบบการส่ง ข่าวสารก็วิวัฒนาการขึ้นเป็นลำดับ ในรัชสมัยพระจักรพรรดิออกัสตัส (Augustus, ๖๓ ปีก่อนคริสต์ศักราชค.ศ. ๑๔) แห่ง จักรวรรดิโรมัน ได้มีการจัดตั้งระบบ การติดต่อทางไปรษณีย์ของทางราชการ (state post) ขึ้น มีการใช้ม้าในการส่งข่าว สาร มีการจัดตั้งสถานีที่พักสับ เปลี่ยนเจ้าหน้าที่และม้า มีอาหารและ ที่พักพิงสำหรับเจ้าหน้าที่สื่อสาร และข้าราชบริพารที่เดินทางมาพัก เรียกว่า โพซิตัส (positus) แปลว่า ตั้งไว้หรือกำหนดไว้เชื่อว่าเป็นที่ มาของคำว่า “post” (การไปรษณีย์) ในปัจจุบัน