หลายๆคนอาจจะเคยได้ยิน เกมซูโดคุ นะครับ แต่อาจไม่รู้ว่า เกมซูโดคุ เป็นยังไงก็เลยเอามาฝากเผื่อทำความรู้จักกันครับ เกมนี้น่าเล่นทีเดียว
ซูโดะคุ (SU DOKU) คือ
คำว่า ซูโดะคุ มาจากภาษาญี่ปุ่น แต่ต้นกำเนิดของเกมนี้ กลับไม่ใช่ประเทศญี่ปุ่น เพียงแต่ญี่ปุ่น ได้นำเกมนี้มาประยุกต์ให้ง่ายเข้า แล้วเกมนี้ก็ดังไปทั่วโลก ในประเทศญี่ปุ่นนั้น นิยมเล่นซูโดะคุกันมาก เห็นเขาว่ากันว่าในแต่ละวัน มีคนที่นั่งรถไฟ หรือกำลังคอยรถโดยสาร แล้วแก้ปริศนาเกมซูโดะคุไปด้วย นับพันคน
ความหมายของ ซูโดะคุ (SU DOKU)
หากแปลคร่าวๆ จะแปลว่า “จัดวางเลข” เป็นเกมที่เราจะต้องเอาตัวเลขมาใส่ในตารางให้ตรง ตำแหน่งที่มันควรจะเป็น คาดกันว่าต้นกำเนิดของซูโดะคุในยุคปัจจุบันนั้น คิดค้นขึ้นโดยออยเลอร์ (Euler) นักคณิตศาสตร์ชาวสวิสในศตวรรษที่ 18 และได้พัฒนามาจนเป็น อย่างที่เห็นในปัจจุบัน
ปริศนาทั้งหมดในหนังสือเล่มนี้ สร้างขึ้นโดย เวย์น กูลด์ (Wayne Gould) ผู้คลั่งใคล้ในปริศนา เขาเคยเป็นผู้พิพากษาในฮ่องกง ซึ่งบังเอิญไปพบซูโดะคุ ในร้านหนังสือที่ญี่ปุ่นเข้า และเขา สนุกสนานกับมันมาก ถึงขั้นเริ่มสร้างเกมปริศนาขึ้นเอง และได้นำเสนอเกมปริศนานี้ให้กับ ผู้บริหารหนังสือพิมพ์ The Times
หลังจากนั้น ปริศนาเกมแรก ก็ได้ปรากฏบนปกของ The Times เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ.2004 และปริศนาซูโดะคุรายวันบนปกหลัง ก็สร้างปรากฏการณ์พิเศษ คนนับพันเข้าร่วมการแข่งขันแก้ปริศนานี้ ในหนังสือพิมพ์กันทุกวัน มีผู้อ่านจำนวนมากที่ชื่นชอบปริศนานี้ แต่ก็มีบางคน อาจไม่พอใจ อย่างเช่น ชายคนหนึ่งเขียนจดหมายถึง บรรณาธิการ เพื่อขอร้องว่า อย่าลงพิมพ์ เกมซูโดะคุอีก เพราะว่าเขาไม่สามารถหยุดเล่นเกมนี้ ในระหว่างเดินทางในรถใต้ดินทุกวันได้ ซึ่งมันทำให้เขาเพลินจนลืมลงรถ
ซูโดะคุต่างจากเกมปริศนาอักษรไขว้ เพราะว่าคุณไม่จำเป็นต้องรู้ภาษาใดภาษาหนึ่ง เพื่อที่จะไข ปริศนานี้ให้ได้ คุณแค่รู้จักตัวเลขก็พอ คุณเพียงแค่ใส่ตัวเลข 1-9 ให้ครบทุกตัว ลงใน แต่ละแถว ทั้งแนวตั้ง แนวนอน และในแต่ละตารางย่อย (ที่มี 9 ช่อง) ทุกปริศนา สามารถไขได้ ด้วยการค่อยๆ คิดจากตัวเลขที่แวดล้อมอยู่ การไขปริศนา ไม่ควรใช้วิธีเดา จำไว้ว่า ในแต่ละข้อ มีเพียงวิธีเดียวที่จะไขปริศนาได้ ถ้าวิธีของคุณ ไม่ตรงกับเฉลย ควรลองดูใหม่ เพราะคุณอาจทำผิดไว้ที่ใดที่หนึ่ง ขอให้โชคดี และพยายาม ใจเย็นๆ
เกมซูโดะคุ เป็นเกมปริศนาตัวเลข สำหรับการบริหารสมอง (Brain exercise) เป็นเกมที่นิยม ทั้งในประเทศญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย อังกฤษ และสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ ได้นำเกมซูโดะคุ ของนายเวยน์ กูลด์ มาจัดพิมพ์ในระดับง่ายและยาก ถึง 5 เล่ม โดยมี คำแนะนำการเล่น พร้อมการจดสถิติเวลา และคำเฉลยไว้ท้ายเล่ม วางจำหน่ายแล้ว ตามร้านหนังสือ ทั่วประเทศ
มารู้จักหน้าตา ซูโดะคุ
ดูที่ภาพ เห็นว่า
เพื่อให้เข้าใจตรงกัน ต่อจากนี้ไป จะขอ เรียกตารางย่อยนี้ ว่า “กรอบ” และเรียก ช่องเล็ก ๆ ในกรอบว่า “ช่อง”
จะเห็นว่า ซูโดคุ SU DOKU มีหน้าตา เป็น ตารางใหญ่ ที่แบ่งเป็นตารางย่อย อีก 9 ตาราง ซึ่งตารางย่อย ประกอบด้วย ช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ อีก 9 ช่อง
จะเริ่มต้นเล่นแล้ว
ควรเริ่มจากตรงไหนดี : คำตอบคือ ตรงไหนก็ได้
เป้าหมายหรือกฏของ ซูโดะคุ ก็คือ ในแต่ละแถว ทั้งแนวตั้ง แนวนอน และทุกกรอบ ต้องมีเลข 1 – 9 ครบทุกตัว โดยไม่ซ้ำกันเลย ซึ่งโจทย์จะมีตัวเลขบอกใบ้ให้ไว้จำนวนหนึ่ง ตามลำดับ ความยากง่ายของโจทย์ คุณเพียงแค่คาดว่าเลขอะไร ควรอยู่ช่องไหนบ้าง ถ้าคุณเดาผิด แต่คำตอบนั้น มีความเป็นไปได้ คุณก็จะสับสนเอง และอาจต้องนั่งเป่าเศษยางลบ เป็นชั่วโมง แต่หากใช้ความคิดและเหตุผลหาตำแหน่งที่ถูกต้องของตัวเลข คุณจะสนุกกว่ามาก สำหรับ ผู้ที่เคยไขปริศนา เกมนี้มาบ้างแล้ว ก็อาจมีเทคนิคพิเศษเฉพาะตัว หรือพัฒนาเทคนิคใหม่ ขึ้นมาได้อีก แต่สำหรับผู้เริ่มต้น เราขอแนะนำ เทคนิคการตัดออก
ลองศึกษาเทคนิคจากตัวอย่างนี้ดูกรอบที่ 1 ในปริศนาตัวอย่างของเรา จะเห็น ว่ามีช่องว่าง 5 ช่อง เราต้องใส่ ตัวเลข 1-9 ลงในกรอบให้ครบ ฉะนั้น ตัวเลขที่หายไป ก็คือ 1, 2, 5, 6, 9
เราเริ่มจากการหาว่า เลข 1 จะไปอยู่ ช่องไหน
เราใช้หลักที่ว่า แต่ละแถว ทั้งแนวตั้ง และ แนวนอน จะมีตัวเลขใดๆ ได้เพียง ครั้งเดียวเท่านั้น ที่นี้เรามาไล่ดูตาราง ทั้งแนวตั้ง และ แนวนอนว่า ช่องไหน มีหมายเลข 1 อยู่บ้าง ก็จะได้ผลดังรูป
จากรูป จะเห็นว่า แถวที่มีเลข 1 อยู่ แล้วนั้น จะมีหมายเลข 1 ซ้ำอีกไม่ได้ ดังนั้น จะมีช่องว่างเพียงช่องเดียว สำหรับใส่หมายเลข 1 ในกรอบที่ 1
เราพบที่สำหรับหมายเลข 1 ในกรอบที่ 1 แล้ว ที่นี้ก็ใส่หมายเลข 1 ลงในช่อง แล้วดูสิว่า จะมีที่ไหนพอจะใส่เลข 2 ได้บ้าง โดยใช้วิธีการเดียวกัน
ทำได้อีกแล้ว! เส้นแสดงให้เห็นว่ามี ช่องเดียวเท่านั้น ที่จะใส่เลข 2 ได้(ตามเทคนิค เราควรลากเส้นจากเลข 2 ในกรอบที่ 7 ด้วย แต่ในกรณีนี้ ไม่จำเป็น เพราะไม่มีช่องว่างใน แนวตั้ง ในกรอบที่ 1 เพื่อให้ใส่เลขอยู่แล้ว)
อาจประหยัดเวลา และความพยายาม ได้โดย เพียงแต่ตรวจดูในแต่ละแถว ตามแนวนอน และแนวตั้ง ที่มีช่องว่าง อยู่ในแต่ละกรอก
ตัวเลขที่หายไปตัวต่อไป ในกรอบที่ 1 คือ เลข 5 ลองหาช่องใส่โดยใช้วิธีการ ตัดออก คราวนี้ดูจะไม่ง่ายนัก เพราะมี ช่องว่าง 2 ช่องที่อาจใส่เลข 5 ได้ หมายความว่า เราจะใส่หมายเลข 5 ตอนนี้ยังไม่ได้ คุณอาจเดาว่า เลข 5 ควรจะอยู่ช่องไหน แต่ไม่ควรทำ เพราะ ถ้าคุณเดาผิด จะเกิดข้อผิดพลาดตามมา เป็นลูกโซ่ อย่างนั้นก็ข้ามไปก่อน แล้ว ไปหาเลขอื่นกันต่อตัวเลขที่ยังหายไปจากกรอบนี้อีก คือ 6 และ 9 หลังจากที่เราใช้เทคนิคการ ตัดออก เพื่อหาช่องใส่เลข 6 และ 9 เราจะได้รูปดังนี้
จะเห็นว่า เรายังใส่เลข 6 ไม่ได้ แต่เรา ใส่เลข 9 ได้แล้ว (มีเลข 9 อยู่ในแถว ที่ 1 และแถวที่ 3 ตามแนวนอน และ ด้วยเทคนิคการตัดออก ทำให้เราใส่ เลข 9 ในกรอบนี้ได้ เพราะเหลือช่อง ว่าง สำหรับใส่เลข 9 เพียงช่องเดียว)
ดูให้ดี ตอนนี้เราใส่เลข 5 ได้อีกตัวด้วย เพราะว่าเลข 9 ได้ใช้ช่องหนึ่งในสอง ช่องที่อาจเป็นช่อง สำหรับเลข 5 ไปแล้ว
นี่คือ การตัดออกที่แสดงให้เห็นว่า เลข 9 ช่วยให้เราใส่เลข 5 ได้อย่างไร นี่เป็นสิ่งที่มักเกิดขึ้น ในซูโดะคุ นั่นคือ ใส่เลขตัวหนึ่ง แล้วจะทำให้เรากลับไปใส่เลขอื่น ที่ไม่สามารถใส่ก่อนหน้านี้ได้
นี่คือผลงาน ที่นี้ก็มีช่องว่างเหลืออีก เพียงช่องเดียว ในกรอบนี้ และเลขที่ ขาดหายไปคือ เลข 6 เราจึงใส่ได้ โดยไม่ต้อง ตัดเลขอะไรออกอีก และ กรอบนี้ก็เสร็จสมบูรณ์
ยอดเยี่ยม!!!
ที่นี้คุณก็ใช้เทคนิคนี้ กับกรอบที่เหลือ อีก 8 กรอบ แล้วปริศนานี้ ก็จะถูกไขได้ โดยสมบูรณ์
พิทักษ์ วัฒนพานิช
คำแนะนำเพิ่มเติมในการเล่นนะครับ
1. ทำความรู้จักกติกา เพื่อให้เข้าใจแนวทางการไขปริศนา
2. เรียนรู้เทคนิคเบื้องต้น เป็นพื้นฐานสำหรับการไขปริศนา
3. เริ่มแรกให้พยายามเล่นจากระดับง่าย ไต่ระดับขึ้นไปครับ … เมื่อเล่นไปหลายเกมเข้า จะเริ่มมีเทคนิคส่วนตัวขึ้นมาเอง
4. ควรหาเฉลยมาด้วย สำหรับตรวจผลลัพธ์ครับ
ด้วยความที่เป็นเกมที่ไม่จำเป็นต้องเข้าใจภาษาอื่นเพิ่มเติม เพียงรู้จักตัวเลข 1-9 เท่านั้น เป็นเสน่ห์ของเกมซูโดะคุนี้เลยทีเดียว
. . . อ่านเสน่ห์ของเกมนี้ ได้เพิ่มเติมที่ http://thaisudokupuzzle.blogspot.com/2009/06/why-sudoku-is-puzzle-world-super-hit.html นะครับ
พิทักษ์ วัฒนพานิช
เรียนรู้เทคนิคกันแล้ว มาลองฝึกสมองกับเกม sudoku ปัญหาง่ายๆ กันหน่อยครับ
. . . ข้อแรก ระดับง่ายมากครับ มีคำใบ้ให้มาเพียบ
http://thaisudokupuzzle.blogspot.com/2009/06/sudoku-puzzle-level-easy-001.html
. . . ข้อสอง ก็ยังเป็นระดับง่ายมากอยู่ ตัวเลขใบ้มาเพียบอีกเช่นกัน
http://thaisudokupuzzle.blogspot.com/2009/06/sudoku-puzzle-level-easy-002.html
ฝึกสมองกับ SUDOKU กันครับ